ประวัติความเป็นมา

ด้วยเหตุที่กองทัพเรือ มีภารกิจในการป้องกันประเทศ และปกป้องผลประโยชน์ของชาติทางทะเล รวมทั้งยังมีภารกิจรองส่วนหนึ่ง ในงานสนับสนุนการอนุรักษ์ทรัพยากรทั้งในทะเลและชายฝั่งทะเล

บทบาทของกองทัพเรือ ในด้านงานอนุรักษ์ ได้เริ่มเข้มข้นขึ้นตั้งแต่ปี พ . ศ . 2534 ตามมติ ครม . เมื่อ 4 มิ . ย . 2534 ระบุให้ กองทัพเรือ กรมประมง และกรมป่าไม้ ร่วมมือกันดำเนินการตามมาตรการเร่งด่วนในการป้องกันผู้บุกรุกพื้นที่ป่าชายเลน การป้องกันการทำลายปะการัง และการดำเนินการสร้างจิตสำนึก ดังนั้นทางกองทัพเรือ จึงได้จัดทำโครงการอนุรักษ์และพัฒนาสภาพแวดล้อมทางทะเลและชายฝั่ง ทร. และแต่งตั้ง คณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนาสภาพแวดล้อมทางทะเลและชายฝั่ง ทร .

  โครงการอนุรักษ์และพัฒนาสภาพแวดล้อมทางทะเลและชายฝั่ง ทร .

ภายใต้การอำนวยการของคณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนาสภาพแวดล้อมทางทะเลและชายฝั่ง ทร . ตามคำสั่ง ทร . ( เฉพาะ ) ที่ 285/2536 โดยมีรองผู้บัญชาการทหารเรือเป็นประธานกรรมการ ฯ และรองเจ้ากรมกิจการพลเรือนทหารเรือเป็นเลขานุการ ฯ

แบ่งการดำเนินการออกเป็น

1. คณะกรรมการอำนวยการอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพแวดล้อมในทะเล มีผู้บัญชาการกองเรือยุทธการเป็นประธานฯ

2. คณะกรรมการอำนวยการอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพแวดล้อมชายฝั่ง มีผู้บัญชาการฐาน ทัพเรือสัตหีบเป็นประธานฯ

3. คณะกรรมการอำนวยการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ทะเล มีเจ้ากรมอุทกศาสตร์เป็นประธานฯ

  โครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพแวดล้อมในทะเล

โดยมีผู้บัญชาการกองเรือยุทธการเป็นประธานฯ แบ่งออกเป็น

1. โครงการอุทยานใต้ทะเลอ่าวไทยตอนบน มีกองเรือภาคที่ 1 เป็นหน่วยดำเนินการ

2. โครงการอุทยานใต้ทะเลอ่าวไทยตอนล่าง มีกองเรือภาคที่ 2 เป็นหน่วยดำเนินการ

3. โครงการอุทยานใต้ทะเลอันดามัน มีกองเรือภาคที่ 3 เป็นหน่วยดำเนินการ

4. โครงการอุทยานใต้ทะเลพื้นที่สัตหีบและพื้นที่ใกล้เคียง มีกองเรือป้องกันฝั่งเป็นหน่วยดำเนินการ

5. โครงการฟื้นฟูปะการังและพืชใต้ทะเล มีหน่วยสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ ( นสร . กร .) เป็นหน่วยดำเนินการ

เมื่อ ปี พ . ศ . 2544 ทร . ได้ยกเลิกคณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนาสภาพแวดล้อมทางทะเลและชายฝั่ง แล้วให้ดำเนินการดังนี้

1. กิจการพลเรือนทหารเรือ ( กพร . ทร .) เป็นหน่วยอำนวยการในระดับ ทร . ดำเนินการให้งานอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติของ ทร . อยู่ภายในกรอบแผนปฏิบัติของรัฐบาล ภายใต้นโยบาย การรักษาความมั่นคงแห่งชาติทางทะเล ในขณะเดียวกันแนวทางปฏิบัติของ ทร . สามารถคงกิจกรรมเสริมการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ ทร . ได้รับภาพลักษณ์ที่ดีหรือได้รับผลทางด้านกิจการพลเรือน

2. หน่วยปฏิบัติงานด้านอนุรักษ์ของ ทร . ( กองเรือยุทธการ ., กองเรือป้องกันฝั่ง ., หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง ., ฐานทัพเรือสัตหีบ , ฐานทัพเรือกรุงเทพ , ฐานทัพเรือสงขลา , ฐานทัพเรือพังงา ., กรมอุทกศาสตร์ และกองกำลังป้องกันชายแดนจันทบุรี - ตราด ) ปฏิบัติงานตามแผนปฏิบัติการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทางทะเล โดยเป็นหน่วยริเริ่มโครงการและจัดทำแผนงาน และ งป . ประจำปี เสนอ ทร . ผ่าน กพร . ทร . โดยตรง

3. หน่วยปฏิบัติงานอนุรักษ์ของ ทร . ปฏิบัติงานในพื้นที่รับผิดชอบ โดยประสานการปฏิบัติกับหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องได้โดยตรง ได้แก่ กรมประมง กรมป่าไม้ จังหวัด อำเภอ และ อบต .

 

  โครงการฟื้นฟูปะการัง ( นสร . กร )


ตั้งแต่ พ . ศ . 2536 นสร . กร . ได้มีการทดลองปลูกย้ายปะการัง ซึ่งในช่วงเวลานั้นได้มีการขุดลอกร่องน้ำบริเวณท่าเรือแหลมเทียน และเห็นว่าปะการังบริเวณ เกาะเตาหม้อ อาจจะได้รับความเสียหายจึงนำเอาปะการังในบริเวณดังกล่าวปลูกย้ายไปไว้ที่ เกาะขาม โดยดำเนินการร่วมกับนักวิชาการจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จนกระทั่งปี พ . ศ . 2541 เกิดปรากฏการณ์เอลนินโญทำให้เกิดผลกระทบต่อแนวปะการังทั่วอ่าวไทย ซึ่งปรากฏการณ์เอลนินโญเคยเกิดขึ้นทางฝั่งทะเลอันดามันมาแล้วอย่างน้อย 2 ครั้ง คือ ในปี พ . ศ . 2534 และ ปี พ . ศ . 2538 และส่งผลกระทบต่อแนวปะการังที่หมู่เกาะสุรินทร์ทำให้ปะการังที่เคยอยู่หนาแน่นมีลักษณะซีดขาวและตายเป็นจำนวนมาก


ในปี พ . ศ . 2541 ที่บริเวณเกาะขาม นอกจากอุณหภูมิของน้ำทะเลสูงขึ้นถึง 33-35 องศาเซลเซียส ( O C) แล้ว ในช่วงเดือน ก . ค . – ส . ค . 2541 เป็นเวลาน้ำลงต่ำสุด ปรากฏว่า แนวปะการังที่เกาะขามโผล่พ้นน้ำตลอดทั้งแนว ทำให้ปะการังเกิดการฟอกขาวและตายเป็นจำนวนมาก

นสร . กร . จึงพิจารณาพื้นที่ใหม่ที่มีความเหมาะสมกว่าเดิมและได้เลือกพื้นที่ เกาะปลาหมึก ซึ่งเป็นเกาะเล็ก ๆ อยู่ทางตะวันตกของเกาะแสมสาร เป็นพื้นที่ทดลองปลูกย้ายปะการังแห่งใหม่ และได้ดำเนินการตั้งแต่ปี พ . ศ . 2542 เป็นต้นมา

 

  งานที่ นสร.กร รับผิดชอบ

1. งานปลูกย้ายปะการัง

นสร . กร . ได้แบ่งพื้นที่ในการปลูกย้ายปะการัง ออกเป็น 5 พื้นที่ ดังนี้

1.1 พื้นที่ A มีปะการังปลูกย้ายจำนวน 163 ฐาน โดยนำปะการังก้อน (Massive Coral) จากบริเวณแนวโขดหินด้านตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะเตาหม้อ ปลูกติดกับอิฐบล๊อกแล้วนำไปอนุบาลไว้ที่บริเวณเดิมประมาณ 2-3 สัปดาห์ หลังจากนั้นนำไปวางไว้ด้านทิศใต้ของเกาะปลาหมึก


ปะการังที่ปลูกอิฐบล๊อกและนำมาอนุบาลไว้บริเวณเดิมก่อนที่จะนำไปยังพื้นที่อื่น

1.2 พื้นที่ B มีปะการังจำนวน 87 ฐาน ปะการังในส่วนนี้เป็นปะการังก้อนที่ได้ทำ การปลูกย้ายตั้งแต่ปี พ . ศ . 2538 โดยนำปะการังจากเกาะเตาหม้อปลูกติดอิฐบล็อก แล้วนำไปวางไว้ที่เกาะขาม ต่อมาเมื่อประมาณ ก . ค . – ก . ย . 2541 ได้เกิดการฟอกขาวของปะการัง (Coral Bleaching) อันเป็นผลจากปรากฏการณ์เอลนินโญ ปะการังที่ นสร . กร . ได้ปลูกย้ายบางส่วนได้ตายลงและบางส่วนสามารถฟื้นตัวได้ จึงนำปะการังในส่วนที่ฟื้นตัวได้ย้ายมาไว้ที่เกาะปลาหมึกในปี พ . ศ . 2545


1.3 พื้นที่ C มีปะการังจำนวน 33 ฐาน เป็นปะการังก้อนที่ได้ทำการปลูกย้ายเมื่อปี พ . ศ . 2545 โดยนำปะการังจากเกาะเตาหม้อมาปลูกติดกับอิฐบล็อก

     

 

1.4 พื้นที่ D มีปะการังจำนวน 56 ฐาน เป็นปะการังก้อนที่ได้ทำการปลูกย้ายเมื่อปี พ . ศ . 2545 โดยนำปะการังจากเกาะเตาหม้อปลูกติดกับอิฐบล็อก

   


1.5 พื้นที่ E มีปะการังจำนวน 30 ฐาน เป็นปะการังเขากวาง (Branching Coral) ที่ได้ทำการปลูกย้ายเมื่อปี พ . ศ . 2545 โดยนำปะการังจากเกาะเตาหม้อปลูกติดกับอิฐบล็อก

     

 

2. งานติดตามและประเมินผล

ทำการติดตามและประเมินผล ทุก ๆ 3 เดือน หรือในเวลาที่เหมาะสมโดยปฏิบัติร่วมกับนักวิชาการจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

3. การฝึกอบรมหลักสูตรนักดำน้ำเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมใต้ทะเล

ทำการฝึกอบรมปีละ 1 รุ่น จนถึงปี พ . ศ . 2547 ดำเนินการแล้ว 9 รุ่น จำนวน 512 คน ซึ่งผู้เข้ารับการอบรมมีทั้งข้าราชการ ทร . และบุคคลทั่วไป

 

 

 

ThaiDive.Org © all rights reserved