งานถ่ายภาพใต้น้ำ

ขอบข่าย

ทำการถ่ายภาพความแตกต่างของปะการังที่ทำการปลูกย้าย ลักษณะการเจริญเติบโตของปะการัง สิ่งมีชีวิตและสัตว์น้ำในแนวปะการังที่ทำการปลูกย้ายบริเวณเกาะปลาหมึก

 

ผลการปฏิบัติงาน

จากการติดตามผลและการประเมินผลซึ่งได้ปฏิบัติงานร่วมกับนักวิชาการจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการปลูกย้ายปะการังบนอิฐบล๊อค เช่น ปะการังก้อน (Massive Coral) และปะการังเขากวาง (Branching Coral) และการปลูกปะการังบนหิน โดยทำการวัดและถ่ายภาพการเจริญเติบโตของปะการัง สิ่งมีชีวิตและสัตว์น้ำในแนวปะการังที่ปลูกย้าย พบว่า

1. ปะการังก้อน (Massive Coral)


- อัตราการรอดตายประมาณร้อยละ 99
- อัตราการเจริญเติบโต
ทางกว้างเฉลี่ย 1.16-1.65 ซม. ต่อปี
ทางสูงเฉลี่ย 2.18-2.40 ซม. ต่อปี

   

   

   

 

2. ปะการังเขากวาง (Branching Coral)


- อัตราการรอดตายประมาณร้อยละ 100
- อัตราการเจริญเติบโตความยาวเฉลี่ยประมาณ 10-12 ซม. ต่อปี

   

   

 

3. การปลูกปะการังบนหิน

ปะการังสามารถยึดติดกับหินได้และสามารถเจริญเติบโต

   

 

 

4. มีสิ่งมีชีวิตเข้าไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่ที่ทำการปลูกย้าย

เช่น ฟองน้ำ ดอกไม้ทะเล หนอนท่อ ปูเสฉวน หอยสองฝา หอยฝาเดียว สัตว์ในกลุ่มปลิงทะเลและเม่นทะเล ปลาชนิดต่าง ๆ

   

 

สรุปได้ว่าการฟื้นฟูปะการังด้วยการปลูกย้าย มีแนวโน้มช่วยฟื้นฟู และรักษาสภาพนิเวศวิทยาตามแนวปะการังได้


ThaiDive.Org © all rights reserved