หน้าแรก | กระดานข่าว | บ้านปะการัง | ห้องภาพ | ทำเนียบรุ่น | ห้องสนทนา | งานอนุรักษ์ฯ | ปฏิทิน | FAQ |

แล่เนื้อฉลามวาฬ
Thursday, August 11, 2005, 12:14 PM - ต่างประเทศ

ม่นานมานี้เอง พวกเราได้ไปท่องเที่ยวดำน้ำ บริเวณทางตอนเหนือของเกาะที่สวยงามของ Zanzibar เป็นเวลาถึง 8 วัน ด้วยจำนวนสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลมหาศาลที่ได้พบ ไม่ว่าจะเป็น เต่าทะเล มอเรย์ กระเบนจุด ปลานโปเลียน เป็นต้น

เช้าวันสุดท้ายของเรา (4 กค. 2548) ก่อนที่จะบินกลับประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นวันสบาย ๆ บนชายหาด ที่มีบรรยากาศแห่งความสนุกสนานอยู่รอบด้าน ก็ได้รับโทรศัพท์จากผู้จัดการร้านดำน้ำที่เราไปใช้บริการว่าเกิดเหตุการณ์ที่น่าสลดขึ้น คือกลุ่มชาวประมงที่ออกหาปลาตอนกลางคืน ได้กลับมาในตอนเช้าพร้อมกับฉลามวาฬหนุ่ม พวกเขาใช้เชือกผูกฉลามตัวนี้ แล้วลากติดมากับเรือหาปลา ซึ่งมันยังคงมีชีวิตอยู่ และตกอยู่สภาพอันตรายมาก

นักท่องเที่ยวบางคน ได้ทำการการถ่ายภาพและถ่ายวีด๊โอของชาวประมงกลุ่มนี้ ในเวลาเดียวกันกับที่พวกเขากำลังตัดครีบของฉลามวาฬตัวนี้อยู่ ไม่มีใครสักคนที่จะหยุดยั้งพวกเขา หรืออธิบายให้พวกเขาให้ทราบว่า การกระทำเช่นนี้เป็นสิ่งไม่ถูกต้อง ชาวประมงเหล่านั้นรู้แต่เพียงว่า ครีบของฉลามมีราคาแพงมากเมื่อนำไปขายในตลาดปลา แต่หลังจากนั้นกรมประมงก็ได้รับการร้องเรียนทางโทรศัพท์ให้มาทำการตรวจสอบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ผมก็ไม่ทราบว่าพวกเขาจะมาดูอะไร ได้แต่หวังให้มีการถามหาความรับผิดชอบจากชาวประมงนี้

ด้วยสำนึกของการดำน้ำ ผมรู้สึกไม่ดี ต่อการนำภาพฉลามวาฬที่กำลังถูกแล่เนื้อมาให้ดูนี้ จุดถ่ายภาพ มีระยะห่างไม่เกิน 100 เมตร จากจุดที่พวกเราไปดำน้ำกัน ขณะนี้คือปี 2548 ที่ยังมีการเข่นฆ่าสิ่งมีชีวิตจากทะเล เพื่อต้องการอวัยวะบางส่วน โดยเฉพาะครีบของฉลามอีกหรือ? ทำไมกรมประมงจึงไม่ให้ความรู้ความเข้าใจต่อชาวประมงท้องถิ่น ว่าสิ่งใดพวกเขาสามารถ และไม่สามารถ นำขึ้นมาจากทะเล ทำไมจึงไม่อธิบายถึงผลกระทบต่าง ๆ ต่อไป โดยอาศัยหลักของกฏหมาย



ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การต่อสู้ของผมครั้งต่อไป จะเพื่อฉลาวาฬที่ยังอยู่ใต้น้ำ ไม่ใช่ที่อยู่ด้านบน และรูปภาพเหล่านี้เป็นสิ่งที่ต้องจุดประกายความตื่นตัว และเรียกร้องถึงความช่วยเหลือ เพื่ออนุรักษ์มหาสมุทร และสิ่งมีชีวิตทีอาศัยอยู่ต่อไป


เรื่องโดย :: Greg Puchert - London, England (formerly East London - South Africa)
ภาพโดย :: sharklife.co.za
เรียบเรียงจาก :: http://www.sharklife.co.za :: บทความต้นฉบับ


ยานบังคับใต้น้ำเอื้ออาทร
Friday, August 5, 2005, 09:44 AM - ต่างประเทศ

องพิจารณาดูว่ายานบังคับระยะไกล (Remotely Operated Vehicle: ROV) ที่ใช้กันใต้น้ำ จะมีราคาสูงถึง $8,000 ถึง หลายล้านดอลล่าห์ แต่เจ้าเครื่องที่สร้างเองนี้มีราคาแค่ $100 เท่านั้น ซึ่งเป็นยานใต้น้ำที่ค่อนข้างน่าสนใจทีเดียว

ระยะเวลาในการสร้างก็เพียงแค่ 2 สัปดาห์ โดยสร้างขึ้นจากท่อพีวีซีขนาดใหญ่ ที่ติดตั้งกล้อง ขาวดำ และกล้องสีไว้ พร้อมด้วยระบบไฟส่องอินฟราเรด สำหรับงานถ่ายกลางคืน มีสายไฟที่โยงไปได้ไกลถึง 100 ฟุต สำหรับป้อนพลังงานไฟฟ้า และส่งสำหรับส่งภาพวีดีโอกลับมายังพื้นผิวเพื่อกระบวนการเฝ้าติดตาม และบันทึกแบบ real-time


แปลมาจาก :: engadget.com :: บทความต้นฉบับ


ลำแสงสีแดงมรณะ
Saturday, July 23, 2005, 04:20 PM - ต่างประเทศ


สัตว์ตัวอย่างที่เปล่งแสงได้ (Erenna specimen)
ค้นพบได้จากทะเลลึกนอกชายฝั่งแคลิฟอเนีย
สำหรับปลาแล้ว แสงสีแดงมีความอันตรายมากกว่าที่หลายคนเคยนึกถึง และยิ่งลึกมากเท่าใด ก็ยิ่งอันตรายมากเท่านั้น

สิ่งที่ค้นพบใหม่จากทะเลลึก เป็นความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับแมงกระพรุน คือการปล่อยพลังงานแสงสีแดง ภายใต้ทะเล เพื่อล่อปลาให้มาติดกับดักของมัน


การค้นพบนี้เป็นเรื่องแปลก เพราะว่านักวิทยาศาสตร์ ได้เรียนรู้มาว่าภายใต้ทะเลลึกมาก ๆ สัตว์ต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่ ไม่สามารถมองเห็นแสงสีแดงได้ตั้งแต่พวกมันเกิด เนื่องจากเป็นความลึกระดับที่แสงอาทิตย์ไม่สามารถส่องผ่านลงไปถึง ดังนั้นจึงไม่มีเหตุผลใดที่สัตว์ในความลึกระดับนั้น จำเป็นต้องรับรู้ถึงความแตกต่างของสี

สัตว์ที่มีความบอบบาง ลักษณะขุ่นใส ซึ่งเป็นสัตว์จำพวกไม่มีกระดูกสันหลังสายพันธุ์แรก ที่พบว่าพวกมันสามารถผลิตแสงสีแดงได้

ส่วนสายพันธุ์ใหม่ที่ค้นพบ อยู่ในสกุล Erenna ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นสกุลที่สามารถเปล่งแสงได้ เพื่อการป้องกันตัวจากสัตว์อื่น

รายละเอียดจากการค้นพบ เปิดเผยขึ้นเมื่อ วันที่ 8 กรกฎาคม 2548 ในวารสารวิทยาศาสตร์ ที่เปิดเผยโดย Steven Haddock จากสถาบันวิจัยทางทะเล Monterey Bay Aquarium Research Institute.

แสงสีแดง จะถูกสร้างโดยระบบเปล่งแสงแบบฟลูออเรสเซนต์ ซึ่งเป็นคลื่นแสงความยาวต่ำเช่นเดียวกับสีน้ำเงิน แต่แสงสีน้ำเงินถูกสร้างโดยกระบวนการที่เรียกว่า bioluminescence ซึ่งสิ่งมีชีวิตจะปรับเปลี่ยนสารเคมีให้เป็นแสง คล้ายกับแท่งเรืองแสงที่มีจำหน่ายให้กับเด็ก สัตว์ทะเลมีวิวัฒนาการในการผลิตแสงสีน้ำเงินเนื่องจากมันสามารถเดินทางได้ดีภายใต้มหาสมุทรนั้น

กระบวนการ Bioluminescence นี้ เกือบจะเรียกได้ว่ามีอยู่ในเฉพาะสัตว์ทะเล ยกเว้นสัตว์ชนิดหนึ่งคือหิ่งห้อย

ทีมงานของ Haddock ได้ใช้หุ่นยนต์ดำน้ำในการเก็บตัวอย่างสัตว์ 3 ชนิดจากทะเลปิดนอกชายฝั่งของแคลิฟอเนีย

2 ใน 3 ของสัตว์ตัวอย่างพบว่ามีปลาอยู่ในตัวมัน ซึ่งด้วยความลึกระดับนั้นไม่มีปลาอาศัยอยู่มากนัก Haddock และเพื่อนร่วมงานของเขาชี้ให้เห็นว่าแสงสีแดงดึงดูดปลาได้ และบางทีความสามารถในการมองเห็นแสงในทะเลลึก อาจจะเป็นเรื่องปกติ เกินกว่าที่พวกเราเคยได้รับรู้กันมา

แปลมาจาก :: livescience.com ::บทความต้นฉบับ
เขียนโดย :: Robert Roy Britt, LiveScience Senior Writer
ภาพโดย :: Steve Haddock



ระบบหายใจใต้น้ำแบบปลา
Tuesday, June 14, 2005, 11:05 AM - ต่างประเทศ

นักประดิษฐ์ชาวอิสราเอล ได้ทำการพัฒนาอุปกรณ์ระบบหายใจใต้น้ำโดยไม่ใช้ขวดอัดอากาศ หลักการประดิษฐ์แบบใหม่ชนิดนี้ จะเป็นการนำอ๊อกซิเจนที่มีอยู่ในน้ำมาใช้ หายใจให้กับนักดำน้ำสกูบ้า และภายในเรือดำน้ำ และการประดิษฐ์นี้เองได้รับความสนใจจาก นักประกอบการอุตหกรรมการดำน้ำ และกองทัพเรืออิสราเอล

แนวความคิดการหายใจใต้น้ำ โดยไม่พึ่งพาขวดอากาศเป็นความฝันของ ผู้ประพันธ์นิยายวิทยาศาสตร์มานานหลายปี ในภาพยนตร์ของ จอร์จ ลูคัส เรื่อง “Star War : The Phantom Menace” ก็มีการนำอุปกรณ์ในแนวความคิดดังกล่าวมาใช้ ในตอนที่ โอบีวัน ส่งเครื่องช่วยหายใจใต้น้ำแก่ Jedi ซึ่งนิยายวิทยาศาสตร์วันวานได้กลับมาเป็น วิทยาศาสตร์แห่งความจริงในวันนี้ในโลกของเรา ด้วยนักประดิษฐ์ชาวอิสราเอลคนหนึ่งกับความฝันของเขา


รูปโครงสร้างระบบหายใจใต้น้ำแบบใหม่
มีข้อจำกัดหลายอย่างในวิธีการหายใจใต้น้ำด้วยขวดอากาศ สิ่งแรกคือเวลาทำการใต้น้ำ ซึ่งมีสาเหตุมาจากแรงดันอากาศภายในขวด ข้อจำกัดอีกอันหนึ่งคือความน่าเชื่อถือในอากาศจากบริเวณแหล่งดำน้ำ ที่เติมเข้าสู่ขวด ว่ามีความสะอาดปราศจากมลพิษมากน้อยเพียงใด ซึ่งอาจจะส่งผลอันตรายต่อนักดำน้ำได้ และปัญหาสุดท้ายสำหรับการหายใจใต้น้ำด้วยขวดอากาศคือ เมื่ออากาศถูกใช้ไปจนใกล้หมดขวด ก็จะเปลี่ยนความสมดุลต่อนักดำน้ำที่อยู่ในน้ำด้วย


วิศวกรได้พยายามอย่างมากในการข้ามข้อจำกัดดังกล่าวมาหลายปีแล้ว เช่น เรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ และสถานีอวกาศก็ใช้ระบบผลิตออกซิเจนจากน้ำ โดยกระบวนการ “Electrolysis” คือการแยกออกซิเจนจาก ไฮโดเจน ด้วยวิธีการทางเคมี ระบบเหล่านี้ต้องการพลังงานจำนวนมากในการทำงาน ซึ่งด้วยเหตุผลนี้ เรือดำน้ำเครื่องยนต์ดีเซล ที่มีขนาดเล็กกว่า จึงไม่สามารถใช้ระบบแยกออกซิเจนดังกล่าวได้ นอกจากนี้เรือดำน้ำยังต้องการปรับพื้นที่เพื่อเติมอากาศเพื่อบรรจุลงขวดอากาศบ่อยครั้งขึ้นด้วย นักดำน้ำแน่นอนว่าไม่สามารถจะที่คิดพกพาเครื่องจักรขนาดใหญ่เพื่อนำไปป้อนเป็นพลังงานได้ ดังนั้นการข้ามขีดจำกัดนี้นักประดิษฐ์ชาวอิสราเอล Alon Bodner จึงคิดไปถึงปลาในทะเล

ปลาไม่ต้องใช้กระบวนการทางเคมีในการแยกออกซิเจนออกจากน้ำ แต่พวกมันจะหายใจโดยใช้การซึมซับอ๊อกซิเจนจากในน้ำแทน ในมหาสมุทร คลื่นและกระแสน้ำใต้ทะลได้ช่วยผลิตอากาศเล็กภายในน้ำอยู่แล้ว การศึกษาในเชิงลึกได้แสดงให้เห็นว่าในความลึก 200 เมตรใต้ทะล มีการซึมซับของอากาศอยู่ประมาณ 1.5% ซึ่งอาจจะดูเหมือนไม่มาก แต่มันก็เพียงพอในการหายใจอย่างสบายของทั้งปลาเล็ก และปลา ภายใต้น้ำลึกขนาดนั้น

   
Alon Bodner
ความคิดของ Bodner ถูกสร้างเป็นระบบเลียนแบบปลาที่ใช้อากาศภายในน้ำ ซึ่งจะทำให้ทั้งเรือดำน้ำขนาดเล็ก และนักดำน้ำลึก สามารถที่จะสลัดขวดอากาศที่เกะกะและมีขนาดใหญ่ทิ้งไปได้

ระบบที่พัฒนาโดย Bodner จะใช้หลักฟิสิกส์ที่รู้จักกันดีที่เรียกว่า “Henry Law” ซึ่งอธิบายการแทรกซึมของแก็สเฉื่อยในของเหลว ซึ่งกฎนี้ใช้หลักการของความดัน โดยความดันที่ลดลงก็จะคายแก็สออกจากของเหลว การสร้างออกซิเจนจากนั้น จะทำการปรับเปลี่ยนการทำงานอย่างรวดเร็ว ภายใต้กล่องปิดผนึกขนาดเล็กที่พกพาลงไปใต้ทะเล ระบบนี้จะใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ที่ชาร์ทไฟใหม่ได้ และการคำนวณชี้ให้เห็นว่าแบตเตอรีลิเทียม 1 กิโลกรัมสามารถป้อนพลังงานเพื่อให้นักดำน้ำสามารถดำน้ำได้นานถึง 1 ชั่วโมง


Bodner ได้สร้างระบบทดสอบในห้องแลปเรียบร้อยแล้ว และเขากำลังอยู่ในขั้นตอนการสร้างตัวต้นแบบจริง ลิขสิทธิ์สำหรับการประดิษฐ์นี้ก็ได้รับการอนุมัติจากยุโรป รวมถึงการรอการอนุมัติตรวจสอบในสหรัฐอเมริกาอีกด้วย

โครงการนี้ก็ได้รับการดูแลจากผู้ประกอบการอุตสาหกรรมดำน้ำ และกองทัพเรืออิสราเอล การสนับทางการเงินเบื้องต้นก็ได้รับการดูแลโดย รัฐมนตรีอุตสาหกรรมและพาณิชย์ ของอิสราเอล สำหรับ Bodner ขณะนี้กำลังมองหานักลงทุนเอกชนเพื่อช่วยเขาในการทำให้โครงการนี้เป็นผลสำเร็จให้ได้

ถ้าทุกสิ่งดำเนินไปตามแผนงาน ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า การหายใจใต้น้ำโดยไม่ใช้ขวดอากาศ ก็จะมีให้ได้ใช้งานกัน และจะยึดติดไปกับนักดำน้ำในรูปแบบของชุดดำน้ำ ซึ่งจะทำให้พวกเขาอยู่ใต้น้ำได้นานหลายชั่วโมง

แปลมาจาก :: http://www.isracast.com :: บทความต้นฉบับ

2 comments 2 comments ( 235 views )   |  ปักหลัก

ปริศนาอลังการล้านสีสัน อาณาจักรแนวปะการัง
Friday, May 20, 2005, 10:21 AM - ต่างประเทศ

เรื่อง : เลส คัฟมิน
ภาพ : ทิม เลเมน

นักวิทยาศาสตร์ทราบกันมานานแล้วว่าสีมีส่วนสำคัญในกระบวนการเลือกคู่และการเตือนภัยของสิ่งมีชีวิตใต้ทะเล แต่เมื่อราวทศวรรษ 1990 เราจึงเริ่มเข้าใจมากขึ้นว่า ความยาวคลื่นแสง (รวมถึงสี) จะเปลี่ยนแปลงไปตามระดับความลึกที่ต่างกัน และดวงตาของสัตว์น้ำหลายชนิดสามารถรับแสงที่กล่าวมานี้ได้ ทั้งยังมองเห็นกันและกันในลักษณะที่ต่างจากที่มนุษย์มองเห็นอย่างสิ้นเชิงอีกด้วย


ผมและทิม เลเมน ช่างภาพ พากันดำดิ่งลงไปใต้ท้องทะเลแถบฟิจิและอินโดนีเซีย เพื่อศึกษาว่าสิ่งมีชีวิตในแนวปะการังใช้สีสันในการดำรงชีพอย่างไร เมื่ออยู่ท่ามกลางท้องน้ำมืดมัวนอกเขตแนวแนวปะการัง สัตว์น้ำส่วนใหญ่จะสื่อสารด้วยประสาทสัมผัสอื่นๆ เช่น การรับกลิ่น รสสัมผัสและเสียง โดยไม่ต้องพึ่งพาการมองเห็น แต่เมื่อเข้ามาอยู่ในแนวปะการังซึ่งเป็นบริเวณที่ท้องน้ำใสสะอาดและมีแสงแดดส่องถึง การรับรู้ด้วยสายตาก็กลับมามีบทบาทสำคัญตามเดิม บรรดาสัตว์น้อยใหญ่ไม่ว่าจะมองเห็นหรือไม่เห็น ต่างออกมาอวดโฉมด้วยสีสันเฉิดฉาย บ้างก็เพื่อดึงดูดความสนใจของเพศตรงข้ามและข่มขู่ศัตรูให้กลัวหงอ หรือไม่ก็กำบังตัวจากสัตว์นักล่าและพรางตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม

ทิมและผมเริ่มต้นด้วยการศึกษาระบบนิเวศแนวปะการังซึ่งยังอยู่ในสภาพสมบูรณ์ในท้องทะเลฟิจิ (ดู 'สีสันแดนปะการังแห่งฟิจิ' ฉบับเดือนพฤศจิกายน 2547) ครั้งนั้น ทิมดำน้ำลงไป 25 เมตรและใช้ไฟดวงใหญ่ส่องไปที่ดงปะการังสีแดงสดใส แต่เมื่อปิดไฟเรากลับได้เห็นสีสันที่แตกต่างไปอย่างสิ้นเชิง ซึ่งคงใกล้เคียงกับที่ปลามองเห็น หมู่ปะการังกลายเป็นสีฟ้าอ่อน สีเขียว สีม่วงและสีเหลือง แต่เราไม่เห็นสีแดงเลย เพราะสีนี้มีความยาวคลื่นมากกว่าสีอื่นจึงถูกโมเลกุลของน้ำและตะกอนใต้น้ำดูดซับไปจนหมด ส่วนรงควัตถุสีแดงในตัวสัตว์ทะเลอาจปรากฏเป็นสีเทาหรือดำในน้ำลึก ซึ่งเราก็ยังไม่เข้าใจว่าแล้วมันจะมีสีแดงไว้เพื่ออะไร แต่สิ่งที่เราเข้าใจมากขึ้นในตอนนี้ คือเหตุใดสัตว์ที่อยู่ตามแนวปะการังจึงมักเป็นสีเหลืองและสีฟ้า ทั้งๆที่สีเหล่านี้ทำให้พวกมันตกเป็นเป้าของนักสะสมปลาสวยงาม

จัสติน มาร์แชล และจอร์จ โลซีย์ พร้อมด้วยเพื่อนร่วมงานทำการศึกษาเกี่ยวกับดวงตาของปลาโดยใช้เทคนิคที่เรียกว่า ไมโครสเปกโตรโฟโตเมทรี (microspectrophotometry) ในการวิเคราะห์รงควัตถุรับภาพ (visual pigment) และภาวะไวแสง (photosensitivity) ของดวงตาปลาหลายชนิดที่อาศัยอยู่ตามแนวปะการัง เพื่อศึกษาลักษณะการเห็นภาพและสิ่งที่ปลามองเห็น

นอกจากนี้ทีมงานยังวัดความยาวคลื่นแสงที่สะท้อนจากส่วนต่างๆของปะการังเพื่อคำนวณหา "สีเฉลี่ยของปะการัง" และพบว่าเมื่ออยู่ในแสงธรรมชาติ สีเหลืองและสีฟ้าที่อยู่บนตัวปลาสลิดหิน ปลานกขุนทอง และปลาสินสมุทร จะกลมกลืนไปกับค่าสีเฉลี่ยของปะการังและช่วยให้มันอำพรางตัวจากสัตว์นักล่าได้

นอกจากจะใช้สีเพื่อหลอกล่อเหยื่อแล้ว สัตว์น้ำในแนวปะการังยังใช้สีเพื่อส่ง 'ภาษารัก' แบบสั้นๆ ปลาตามแนวปะการังหลายชนิดสามารถเปลี่ยนสีตัวได้ในชั่วพริบตา เช่น ปลานกขุนทองแฟลชเชอร์เพศผู้ฝูงหนึ่งที่เราเห็นใกล้ชายฝั่งบาหลี สามารถเปลี่ยนแถบสีบนลำตัวและครีบที่เหยียดตรงให้เป็นสีฟ้าสว่างจ้า ทำให้ปลาเพศเมียซึ่งหลงใหลในแสงสีดังกล่าวว่ายปรี่เข้าไปหาคู่ที่หมายตาไว้ พลาพ่นไข่ออกมากลุ่มใหญ่พร้อมๆกับที่ตัวผู้ฉีดน้ำเชื้อออกมาผสม เมื่อภาระกิจเสร็จสิ้นลง เจ้าตัวผู้จะกลับกลายเป็นสีน้ำตาลตามเดิม ส่วนปลามาสาวคู่รักก็รีบว่ายหนีเข้าไปซ่อนในแนวปะการัง ช่วงเวลาของการสำแดงสีสันอันบรรเจิดอาจทำให้พวกมันตกเป็นเป้าสายตาของสัตว์นักล่า ดังนั้น ความสามารถในการเปลี่ยนสีตัวเองให้กลับสู่สภาพเดิมจึงเป็นเรื่องสำคัญเช่นกัน

มนุษย์อาจได้เห็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงสีสันตระการตาเช่นนี้ได้ถ้ามีแสงสว่างเพียงพอ ใต้ผืนน้ำบริเวณใกล้เกาะนูซาเทนการ์รา มีฝูงปลามาชุมนุมเปิบแพลงก็ตอนตัวใสกันอย่างคึกคัก ปลาหลายชนิดที่กินแพลงก์จอนเป็นอาหารสามารถมองเห็นรังสีอัลตราไวโอเลต หรือยูวี ทำให้พวกมันเห็นแพลงก์ตอนในน้ำเป็นสีดำ เพราะแสงยูวีสามารถส่งทะลุผืนน้ำได้ลึกกว่า 100 เมตร ถึงแม้สายตามนุษย์จะมองไม่เห็นรังสีนั้นก็ตาม ยิ่งไปกว่านั้นปลาบางชนิดไม่เพียงมองเห็นแสงยูวีเท่านั้น แต่ยังมีเซลล์สะท้อนแสงยูวีบนลำตัว เพื่อสื่อสารกับพวกพ้องอีกด้วย เช่นปลานิดหินสามารถส่งสัญญาณถึงกันได้เมื่ออยู่ในแสงยูวี โดยที่สัตว์นักว่าอื่นๆมองไม่เห็น การค้นพบดังกล่าวทำให้ผมอดสงสัยไม่ได้ว่า โลกใต้น้ำยังมีความมหัศจรรย์อีกมากมายเพียงใดที่ตาเรามองไม่เห็น

ติดตามอ่านรายละเอียดทั้งหมดได้ใน National Geographic ฉบับภาษาไทย ประจำเดือนพฤษภาคม 2548 :http://www.ngthai.com/feature.asp?id=292



ย้อนกลับ ถัดไป