หน้าแรก | กระดานข่าว | บ้านปะการัง | ห้องภาพ | ทำเนียบรุ่น | ห้องสนทนา | งานอนุรักษ์ฯ | ปฏิทิน | FAQ |

ดำสกูบ้าปอดไม่เสื่อม
Monday, July 17, 2006, 05:51 PM - ต่างประเทศ


ภาพโดย : maritimetravel.ca
Kronshagen, Germany (Jul 11, 2006 21:01 EST) : การศึกษาชิ้นหนึ่งโดย สถาบันเวชกรรมทหารเรือเยอรมัน (German Naval Medical Institute) แนะนำว่านักดำน้ำลึก หรือสกูบ้า ไม่ได้รับความเสี่ยง ต่อการเสื่อมถอยของการทำงานของปอด

นักวิจัยหลายคนได้ทำการทดลองการทำงานของปอดกับ ทหารเรือเยอร์มันที่มีสุขภาพที่ดี จำนวน 590 คน โดย 468 คน เป็นทหารนักดำน้ำสกูบ้า และ 122 คน เป็นทหารเรือประจำเรือดำน้ำ

การทดสอบดำเนินไปกว่า 5 ปี ด้วยการทดสอบการทำงานของปอดอย่างน้อย 3 ประเภท ซึ่งรวมถึง การทดสอบ FEV1 (first second of a forced expiratory maneuver) และ การทดสอบ FVC (forced vital capacity) ด้วย

การทดสอบมีขึ้นอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง ระหว่างคร้งแรก และครั้งสุดท้ายของการวัด ให้ผลที่น่าสนใจว่า การทดสอบ FEV1 ของทหารทั้งสองกลุ่มให้ผลลัพธ์ที่เกินกว่าที่คาดคิด กล่าวคือนักวิจัยได้พบว่า ไม่มีสัญญาณบ่งชี้ว่ามีความเสื่อมถอยของการทำงานของปอด บนการทดสอบ FEV1 ของทหารทั้งสองกลุ่มด้งกล่าว

อย่างไรก็ตาม การสูบบุหรี่ อายุ กลับจะเป็นสาเหตุของการเสื่อมถอยของการทำงานของปอดมากกว่า ซึ่งรายงานผลการวิจัยชิ้นนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร เชส ด้วย (Journal Chest)



แปลมาจาก :: บทความต้นฉบับ บทความต้นฉบับ
รูปภาพ ::maritimetravel.ca



ฉลามเสือท้องแก่ถูกสังเวย
Tuesday, March 14, 2006, 06:06 PM - ต่างประเทศ


ฉลามเสือความยาว 14 ฟุต และหนัก 500 กก.
จรูดอง, บรูไน (Jerudong, Brunei) ฉลามเสือน้ำหนักกว่า 500 กิโลกรัม ถูกจับโดยชาวประมงอินโดนีเซีย ซึ่งภายหลังพบว่าเป็นฉลามเสือท้องแก่

ฉลาม สัตว์น้ำขนาดใหญ่ที่มีความดุร้าย ตัวร้ายตัวนี้ มีความยาวถึง 14 ฟุต และมีเส้นรอบวงลำตัวถึง 9 ฟุต กำลังตังครรภ์ลูกฉลามถึง 40 ตัว ในท้องของมัน

ชาวประมงได้จับฉลามตัวนี้ด้วยอวน ราว 9 นาฬิกาของวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ.2549 และใช้เวลาประมาณ 2-3 ชั่วโมงเพื่อลากมันกลับมายังฝั่ง

ที่ตลาดปลาทันทีที่กลับมาถึง กลุ่มชาวประมงดังกล่าว ได้ตัดหูของฉลามเพื่อนำไปขาย ด้วยราคา $50 ดอล์ล่าห์ หรือประมาณ 2,000 บาท ต่อกิโลกรัม ซึ่งด้วยน้ำหนักทั้งหมดแล้ว พวกเขาสามารถขายได้ถึง $500 ดอล์ล่าห์ หรือ ราว 20,000 บาท ต่อน้ำหนักของหูฉลามทั้งหมด 10 กิโลกรัม

ฉลามเสือเป็นสัตว์ทะเลที่มนุษย์กลัวมากที่สุด รองแต่เพียงฉลามขาว ซึ่งความยาวสูงสุดของลำตัวจะมีขนาด 18 ฟุต มีนิสัยดุร้าย และ พบได้ในทะเลที่มีอุณหถูมิพอเหมาะ

ฟันอันแหลมคมของฉลามเสือ


แปลมาจาก :: underwatertimes.com :: บทความต้นฉบับ



ขี้ปลาวาฬล้ำค่าดั่งทองคำ
Tuesday, January 31, 2006, 06:10 PM - ต่างประเทศ

ตริกกี เบย์ (Streaky Bay), ประเทศออสเตรเลีย ครอบครัวหนึ่งที่อาศัยอยู่ชายฝั่งตะวันตก ด้านทางใต้ของประเทศออสเตรเลีย ได้ค้นพบก้อนแร่ประหลาด ที่สำรอกออกมาจากปลาวาฬ บนหาดทรายแห่งนั้น ซึ่งคาดการณ์ว่าจะมีมูลค่ากว่า 1 ล้านเหรียญดอลล่าห์

เจ้าก้อนแร่ ที่ทางวิทยาศาสตร์เรียกว่า ขี้ปลาวาฬ คือสื่งที่บริษัททำน้ำหอมต่างเสาะหาอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากมันมีค่าถึง 20 เหรียญสหรัฐต่อ กรัม

สำหรับก้อนที่ค้นพบบนชายหาดตรง สตริกกี เบย์ นี้หนักถึง 14.75 กิโลกรัม

Loralee, หญิงผู้ค้นพบขี้ปลาวาฬที่สตริกกี เบย์


Ken Jury, หนึ่งในครอบครัวผู้ค้นพบ กล่าวว่า นี่เป็นครั้งแรกที่พบขี้ปลาวาฬสำหรับทำน้ำหอมในภาคใต้ของออสเตรเลีย

เขายังกล่าวต่อไปอีกว่า สถานที่ครั้งล่าสุดที่ค้นพบเจ้าขี้ปลาวาฬในออสเตรเลียนี้ คือที่ ควีนแลนด์ (Queenland)

ในครั้งนั้น ค้นพบเพียงแค่ 2 ชิ้น ที่เมื่อรวมกันแล้วได้เพียงแค่ครึ่งเดียวของก้อนที่พบที่ สตรีก เบย์ แต่กระนั้นก็ยังสามารถขายได้ราคาถึง 190,000 เหรียญ ต่อก้อนเลยทีเดียว

บทความแปล :: abc.net.au :: บทความต้นฉบับ



เรือจม มรดกทางวัฒนธรรม
Wednesday, January 11, 2006, 12:02 AM - ต่างประเทศ


ป้ายสัญลักษณ์ที่พร้อมติดตั้ง
รูปโดย: PÅL NYMOEN / NORSK SJØFARTSMUSEUM
ณะกรรมการมรดกทางวัฒนธรรมแห่งประเทศนอร์เวย์ ได้ริเริมโครงการที่ไม่เหมือนใคร คือการกำหนดจุดสัญลักษณ์ใต้น้ำแห่งประวัติศาสตร์

เรือจมประมาณ 30 แห่ง ทางตอนใต้ของนอร์เวย์ จะได้รับการดูแล เพื่อให้นักดำน้ำตระหนักถึงความสำคัญและเคารพในสถานที่ ในขณะที่อีกหลายประเทศยังไม่เห็นคุณค่า

สัญลักษณ์ที่มีรูปร่างคล้ายกับขนมปังอันแรก จะถูกกำหนดไว้ในจุดเรือจม Vest-Agder Country ซึ่งอยู่ทางใต้ของประเทศนอร์เวย์
   
ป้ายสัญลักษณ์นี้ถูกผลิตขึ้นจากไทเทเนียม และโลหะป้องกันสนิม เพื่อป้องกันน้ำเค็ม และ ปัญหาอื่น ๆ จากทะเล ซึ่งป้ายดังกล่าวจะถูกวางไว้ที่ความลึก 10-30 เมตร (33-98 ฟุต)

หนึ่งในคณะกรรมการกล่าวว่า พวกเขาต้องการกำหนดจุดเพื่อต้องการให้หลีกเลี่ยงการเที่ยวชมจุดเรือจม และป้องการดำน้ำโดยไม่ได้รับอนุญาติแห่งนั้น

อีกด้าน Per Vangsoy ผู้จัดการของสมาคมดำน้ำชาวนอร์เวย์ กล่าวว่า พวกเขาสนับสนุนการพิทักษ์มรดกทางวัฒนธรรมใต้น้ำนี้ แต่ประชาชนทั่วไปควรได้รับการยินยอมให้ไปเที่ยวชมเรือจมนี้ด้วย

ส่วนผู้มีอำนาจอนุมัติในโครงการนี้ ก็กำลังรอความร่วมมือกับนักดำน้ำท้องถิ่น ในอันที่จะร้องขอให้ช่วยตรวจตราป้ายสัญลักษณ์ที่ติดตั้งไว้ใต้ทะเลตามความลึกดังกล่าว เพื่อตรวจสอบการกัดเซาะและความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น

ป้ายสัญลักษณ์ที่ถูกติดตั้งแล้วใต้ทะเล
รูปโดย: Norsk Sjøfartsmuseum

นอกจากนี้ยังกล่าวต่อไปว่า พวกเขาคาดหวังโครงการนี้จะประสบผลสำเร็จในการปกป้องเรือจมเหล่านี้ และตอนนี้จุดต่อไปที่จะเริ่มกัน ก็คือการสะสมประสบการณ์และเสียงสะท้อนจากนักดำน้ำ เพื่อการปกป้องมรดกทางวัฒนธรรมของชาติต่อไป


แปลมาจาก :: www.aftenposten.no :: บทความต้นฉบับ



ปลาหมีกยักษ์
Wednesday, October 5, 2005, 10:36 AM - ต่างประเทศ

รอยเตอร์/เอพี – ต่อไปนี้ “ปลาหมึกยักษ์” จะไม่เป็นแค่เพียงจินตนาการในนิยายวิทยาศาสตร์อีกต่อไป เมื่อนักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นได้จับภาพหนึ่งในสิ่งมีชีวิตที่ลึกลับที่สุดแห่งโลกทะเลลึกได้อย่างไม่น่าเชื่อได้เป็นครั้งแรก

”ปลาหมึกยักษ์” สิ่งมีชีวิตประหลาดลึกลับใต้ทะเลลึก ที่ถ่ายทอดผ่านเรื่องเล่าและจินตนาการตามหนังสือนิทานและภาพยนตร์แนววิทยาศาสตร์ แต่ไม่มีผู้ใดพบตัวเป็นๆ จริงๆ หรือร่องรอยแม้แต่ครั้งเดียว กระทั่งบัดนี้ ข้อมูลปลาหมึกที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่มีบันทึกมาก็คือปลาหมึกที่มีตัวยาว 18 เมตร ซึ่งตายลงและนำมาวัดขนาด โดยปลาหมึกยักษ์ตัวดังกล่าวถูกจับด้วยอวนของเรือประมง
ทว่า สึเนมิ คูโบเดรา (Tsunemi Kubodera) จากพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งญี่ปุ่น (National Science Museum) และเคียวอิจิ โมริ (Kyoichi Mori) จากสมาคมชมวาฬแห่งโอกาซาวารา (Ogasawara Whale Watching Association) ทั้งคู่ได้บันทึกภาพ “หมึกยักษ์” หรือ “อาร์ซิทิวทิส” (Architeuthis) ได้เป็นครั้งแรก ขณะที่เจ้าสัตว์ลึกลับตัวนี้กำลังปะทะเข้ากับเบ็ดที่ยาว 900 เมตร ใต้ผืนน้ำอันเย็นและมืดสนิทในแถบทะเลแปซิฟิกเหนือ (North Pacific)
Photograph courtesy T. Kubodera and K. Mori


Photograph copyright New Zealand Herald/Corbis Sygma
”พวกเรานำภาพสิ่งมีชีวิตที่ลึกลับที่สุดในธรรมชาติมาแสดงให้ชมกัน” ทั้ง 2 กล่าวหลังจากภาพหมึกยักษ์ลงตีพิมพ์ในวาสารของราชสมาคมวิทยาศาสตร์ของอังกฤษ ทางด้านชีววิทยา (journal Proceedings B of the Royal Society) ในวันนี้ (28 ก.ย.) ซึ่งหมึกยักษ์ที่พบ มีสีม่วงแดงเหมือนปลาหมึกอื่นๆ ในตระกูล นับเป็นครั้งแรกที่ได้เห็นปลาหมึกยักษ์โตเต็มที่ มีสภาพแข็งแรงสมบูรณ์และอยู่ในสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติของตัวมัน

ปัจจุบันนี้เรามีข้อมูลอยู่เพียงน้อยนิดเกี่ยวกับเจ้า “หมึกยักษ์” เพราะสิ่งมีชีวิตที่ไม่มีกระดูกสันหลังใหญ่ที่สุดในโลกชนิดนี้อาศัยอยู่ในแห่งหนใดก็ยากจะระบุแน่ชัดและยังยากที่จะหาตัวเป็นๆ มาศึกษาได้ อีกทั้งการออกเรือใหญ่พร้อมทั้งอุปกรณ์เฉพาะทางในการค้นหานั้นก็ดูเหมือนจะลงทุนมหาศาลและไม่คุ้มกับผลที่ได้มา เพราะอาจคว้าน้ำเหลวเอาได้ง่ายๆ ซึ่งหมึกยักษ์ชนิดนี้จะต้องดำดึ่งลงไปค้นหาที่ใต้ทะเลลึกเท่านั้น

อย่างไรก็ดี นักวิทยาศาสตร์ญี่ปุ่นคู่นี้ได้มีโอกาสพบร่องรอยปลาหมึกยักษ์นั่นก็เพราะ ทางทีมงานได้ติดตาม “วาฬสเปิร์ม” (Sperm Whales) ซึ่งเจ้าวาฬสเปิร์มตัวใหญ่ยักษ์นี้เป็นสัตว์ยอดนักล่าหมึกยักษ์ ที่มารวมตัวกันในทะเลลึกแถวๆ เกาะในย่านโอกาซาวารา แปซิฟิกเหนือ ระหว่างช่วงเดือนกันยายน-ธันวาคมที่ผ่านมา


”ลักษณะเฉพาะที่ดูประหลาดเป็นอย่างยิ่งของปลาหมึกยักษ์นั่นก็คือ หนวดคู่ที่มีความยาวอย่างมาก แยกออกมาจากแขนสั้นๆ อีก 8 แขน ซึ่งเจ้าหนวดแสนแข็งแรงคู่นั้นมีความยาวมากกว่า 2 ใน 3 เท่าของตัวอย่างปลาหมึกตัวที่ยาวที่สุดเท่าที่มีอยู่ในขณะนี้” นักวิทยาศาสตร์ทั้ง 2 ระบุลงในวารสาร และเมื่อนำดีเอ็นเอมาทดสอบเปรียบเทียบ พบว่าเหมือนๆ กับปลาหมึกยักษ์อื่นๆ ที่อาศัยอยู่รอบเกาะญี่ปุ่น

นอกจากนี้ พวกเขายังชี้ว่าปลาหมึกยักษ์ที่ปรากฏตัวมาให้เขาบันทึกภาพนี้มีความเป็นนักล่าสูงกว่าสัตว์ชนิดอื่นๆ ยิ่งนัก โดยจะใช้หนวดและแขนทั้งหมดเข้าไปพันเหยื่อ ก่อนที่จะใช้หนวดอันแข็งแรงทั้ง 2 จัดการกับเหยื่อ

อย่างไรก็ดี นิวซีแลนด์ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านปลาหมึกยักษ์ โดยนักวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีออคแลนด์ (Auckland University of Technology) ได้แสดงความยินดีกับการบันทึกภาพได้สำเร็จเป็นครั้งแรกของญี่ปุ่น แต่ก็แสดงความเห็นว่าการบันทึกภาพได้ครั้งนี้ก็ไม่ได้ช่วยให้องค์ความรู้เกี่ยวกับหมึกยักษ์ก้าวหน้าอะไรไปมากนัก

ทั้งนี้ นักวิทยาศาสตร์ของนิวซีแลนด์หวังว่าจะจับหมึกยักษ์ในวัยเยาว์มาศึกษาและเพาะเลี้ยง ซึ่งทีมของ ม.ออคแลนด์ก็จับมาได้แล้ว 17 ตัวเมื่อ 5 ปีที่ผ่านมา แต่ทั้งหมดก็ตายในบ่อเลี้ยงทั้งสิ้น

”ปลาหมึกยักษ์” หรือ “อาร์ชิทิวทิส” นับเป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และยังได้ชื่อว่าเป็นสัตว์ลึกลับ เพราะไม่มีใครเคยพบหมึกยักษ์ในทะเลลึกตามธรรมชาติ ที่ผ่านมาหลายคนคาดเดาว่าสัตว์ยักษ์ชนิดนี้อาจมีอายุยืนยาวหลายสิบหรือนับร้อยปี และอาศัยในทะเลลึกหลายร้อยเมตร และปลาหมึกยักษ์ชนิดนี้กลายเป็นที่รู้จักคุ้นเคยกันดีทั้งจากตำนานกรีกโบราณและจากเรื่อง “ใต้ทะเล 20,000 โยชน์” (20,000 Leagues Under the Sea) ผลงานของ จูลส์ เวิร์น (Jules Verne)
Illustration by John Dawson, copyright National Geographic Society


สำเนาจาก :: ผู้จัดการออนไลน์ :: บทความแปล
อ้างอิงบทความเดียวกันจากต่างประเทศ :: NationalGeographic




ถัดไป