หน้าแรก | กระดานข่าว | บ้านปะการัง | ห้องภาพ | ทำเนียบรุ่น | ห้องสนทนา | งานอนุรักษ์ฯ | ปฏิทิน | FAQ |

เรือจม มรดกทางวัฒนธรรม
Wednesday, January 11, 2006, 12:02 AM - ต่างประเทศ


ป้ายสัญลักษณ์ที่พร้อมติดตั้ง
รูปโดย: PÅL NYMOEN / NORSK SJØFARTSMUSEUM
ณะกรรมการมรดกทางวัฒนธรรมแห่งประเทศนอร์เวย์ ได้ริเริมโครงการที่ไม่เหมือนใคร คือการกำหนดจุดสัญลักษณ์ใต้น้ำแห่งประวัติศาสตร์

เรือจมประมาณ 30 แห่ง ทางตอนใต้ของนอร์เวย์ จะได้รับการดูแล เพื่อให้นักดำน้ำตระหนักถึงความสำคัญและเคารพในสถานที่ ในขณะที่อีกหลายประเทศยังไม่เห็นคุณค่า

สัญลักษณ์ที่มีรูปร่างคล้ายกับขนมปังอันแรก จะถูกกำหนดไว้ในจุดเรือจม Vest-Agder Country ซึ่งอยู่ทางใต้ของประเทศนอร์เวย์
   
ป้ายสัญลักษณ์นี้ถูกผลิตขึ้นจากไทเทเนียม และโลหะป้องกันสนิม เพื่อป้องกันน้ำเค็ม และ ปัญหาอื่น ๆ จากทะเล ซึ่งป้ายดังกล่าวจะถูกวางไว้ที่ความลึก 10-30 เมตร (33-98 ฟุต)

หนึ่งในคณะกรรมการกล่าวว่า พวกเขาต้องการกำหนดจุดเพื่อต้องการให้หลีกเลี่ยงการเที่ยวชมจุดเรือจม และป้องการดำน้ำโดยไม่ได้รับอนุญาติแห่งนั้น

อีกด้าน Per Vangsoy ผู้จัดการของสมาคมดำน้ำชาวนอร์เวย์ กล่าวว่า พวกเขาสนับสนุนการพิทักษ์มรดกทางวัฒนธรรมใต้น้ำนี้ แต่ประชาชนทั่วไปควรได้รับการยินยอมให้ไปเที่ยวชมเรือจมนี้ด้วย

ส่วนผู้มีอำนาจอนุมัติในโครงการนี้ ก็กำลังรอความร่วมมือกับนักดำน้ำท้องถิ่น ในอันที่จะร้องขอให้ช่วยตรวจตราป้ายสัญลักษณ์ที่ติดตั้งไว้ใต้ทะเลตามความลึกดังกล่าว เพื่อตรวจสอบการกัดเซาะและความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น

ป้ายสัญลักษณ์ที่ถูกติดตั้งแล้วใต้ทะเล
รูปโดย: Norsk Sjøfartsmuseum

นอกจากนี้ยังกล่าวต่อไปว่า พวกเขาคาดหวังโครงการนี้จะประสบผลสำเร็จในการปกป้องเรือจมเหล่านี้ และตอนนี้จุดต่อไปที่จะเริ่มกัน ก็คือการสะสมประสบการณ์และเสียงสะท้อนจากนักดำน้ำ เพื่อการปกป้องมรดกทางวัฒนธรรมของชาติต่อไป


แปลมาจาก :: www.aftenposten.no :: บทความต้นฉบับ



ปลาหมีกยักษ์
Wednesday, October 5, 2005, 10:36 AM - ต่างประเทศ

รอยเตอร์/เอพี – ต่อไปนี้ “ปลาหมึกยักษ์” จะไม่เป็นแค่เพียงจินตนาการในนิยายวิทยาศาสตร์อีกต่อไป เมื่อนักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นได้จับภาพหนึ่งในสิ่งมีชีวิตที่ลึกลับที่สุดแห่งโลกทะเลลึกได้อย่างไม่น่าเชื่อได้เป็นครั้งแรก

”ปลาหมึกยักษ์” สิ่งมีชีวิตประหลาดลึกลับใต้ทะเลลึก ที่ถ่ายทอดผ่านเรื่องเล่าและจินตนาการตามหนังสือนิทานและภาพยนตร์แนววิทยาศาสตร์ แต่ไม่มีผู้ใดพบตัวเป็นๆ จริงๆ หรือร่องรอยแม้แต่ครั้งเดียว กระทั่งบัดนี้ ข้อมูลปลาหมึกที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่มีบันทึกมาก็คือปลาหมึกที่มีตัวยาว 18 เมตร ซึ่งตายลงและนำมาวัดขนาด โดยปลาหมึกยักษ์ตัวดังกล่าวถูกจับด้วยอวนของเรือประมง
ทว่า สึเนมิ คูโบเดรา (Tsunemi Kubodera) จากพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งญี่ปุ่น (National Science Museum) และเคียวอิจิ โมริ (Kyoichi Mori) จากสมาคมชมวาฬแห่งโอกาซาวารา (Ogasawara Whale Watching Association) ทั้งคู่ได้บันทึกภาพ “หมึกยักษ์” หรือ “อาร์ซิทิวทิส” (Architeuthis) ได้เป็นครั้งแรก ขณะที่เจ้าสัตว์ลึกลับตัวนี้กำลังปะทะเข้ากับเบ็ดที่ยาว 900 เมตร ใต้ผืนน้ำอันเย็นและมืดสนิทในแถบทะเลแปซิฟิกเหนือ (North Pacific)
Photograph courtesy T. Kubodera and K. Mori


Photograph copyright New Zealand Herald/Corbis Sygma
”พวกเรานำภาพสิ่งมีชีวิตที่ลึกลับที่สุดในธรรมชาติมาแสดงให้ชมกัน” ทั้ง 2 กล่าวหลังจากภาพหมึกยักษ์ลงตีพิมพ์ในวาสารของราชสมาคมวิทยาศาสตร์ของอังกฤษ ทางด้านชีววิทยา (journal Proceedings B of the Royal Society) ในวันนี้ (28 ก.ย.) ซึ่งหมึกยักษ์ที่พบ มีสีม่วงแดงเหมือนปลาหมึกอื่นๆ ในตระกูล นับเป็นครั้งแรกที่ได้เห็นปลาหมึกยักษ์โตเต็มที่ มีสภาพแข็งแรงสมบูรณ์และอยู่ในสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติของตัวมัน

ปัจจุบันนี้เรามีข้อมูลอยู่เพียงน้อยนิดเกี่ยวกับเจ้า “หมึกยักษ์” เพราะสิ่งมีชีวิตที่ไม่มีกระดูกสันหลังใหญ่ที่สุดในโลกชนิดนี้อาศัยอยู่ในแห่งหนใดก็ยากจะระบุแน่ชัดและยังยากที่จะหาตัวเป็นๆ มาศึกษาได้ อีกทั้งการออกเรือใหญ่พร้อมทั้งอุปกรณ์เฉพาะทางในการค้นหานั้นก็ดูเหมือนจะลงทุนมหาศาลและไม่คุ้มกับผลที่ได้มา เพราะอาจคว้าน้ำเหลวเอาได้ง่ายๆ ซึ่งหมึกยักษ์ชนิดนี้จะต้องดำดึ่งลงไปค้นหาที่ใต้ทะเลลึกเท่านั้น

อย่างไรก็ดี นักวิทยาศาสตร์ญี่ปุ่นคู่นี้ได้มีโอกาสพบร่องรอยปลาหมึกยักษ์นั่นก็เพราะ ทางทีมงานได้ติดตาม “วาฬสเปิร์ม” (Sperm Whales) ซึ่งเจ้าวาฬสเปิร์มตัวใหญ่ยักษ์นี้เป็นสัตว์ยอดนักล่าหมึกยักษ์ ที่มารวมตัวกันในทะเลลึกแถวๆ เกาะในย่านโอกาซาวารา แปซิฟิกเหนือ ระหว่างช่วงเดือนกันยายน-ธันวาคมที่ผ่านมา


”ลักษณะเฉพาะที่ดูประหลาดเป็นอย่างยิ่งของปลาหมึกยักษ์นั่นก็คือ หนวดคู่ที่มีความยาวอย่างมาก แยกออกมาจากแขนสั้นๆ อีก 8 แขน ซึ่งเจ้าหนวดแสนแข็งแรงคู่นั้นมีความยาวมากกว่า 2 ใน 3 เท่าของตัวอย่างปลาหมึกตัวที่ยาวที่สุดเท่าที่มีอยู่ในขณะนี้” นักวิทยาศาสตร์ทั้ง 2 ระบุลงในวารสาร และเมื่อนำดีเอ็นเอมาทดสอบเปรียบเทียบ พบว่าเหมือนๆ กับปลาหมึกยักษ์อื่นๆ ที่อาศัยอยู่รอบเกาะญี่ปุ่น

นอกจากนี้ พวกเขายังชี้ว่าปลาหมึกยักษ์ที่ปรากฏตัวมาให้เขาบันทึกภาพนี้มีความเป็นนักล่าสูงกว่าสัตว์ชนิดอื่นๆ ยิ่งนัก โดยจะใช้หนวดและแขนทั้งหมดเข้าไปพันเหยื่อ ก่อนที่จะใช้หนวดอันแข็งแรงทั้ง 2 จัดการกับเหยื่อ

อย่างไรก็ดี นิวซีแลนด์ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านปลาหมึกยักษ์ โดยนักวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีออคแลนด์ (Auckland University of Technology) ได้แสดงความยินดีกับการบันทึกภาพได้สำเร็จเป็นครั้งแรกของญี่ปุ่น แต่ก็แสดงความเห็นว่าการบันทึกภาพได้ครั้งนี้ก็ไม่ได้ช่วยให้องค์ความรู้เกี่ยวกับหมึกยักษ์ก้าวหน้าอะไรไปมากนัก

ทั้งนี้ นักวิทยาศาสตร์ของนิวซีแลนด์หวังว่าจะจับหมึกยักษ์ในวัยเยาว์มาศึกษาและเพาะเลี้ยง ซึ่งทีมของ ม.ออคแลนด์ก็จับมาได้แล้ว 17 ตัวเมื่อ 5 ปีที่ผ่านมา แต่ทั้งหมดก็ตายในบ่อเลี้ยงทั้งสิ้น

”ปลาหมึกยักษ์” หรือ “อาร์ชิทิวทิส” นับเป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และยังได้ชื่อว่าเป็นสัตว์ลึกลับ เพราะไม่มีใครเคยพบหมึกยักษ์ในทะเลลึกตามธรรมชาติ ที่ผ่านมาหลายคนคาดเดาว่าสัตว์ยักษ์ชนิดนี้อาจมีอายุยืนยาวหลายสิบหรือนับร้อยปี และอาศัยในทะเลลึกหลายร้อยเมตร และปลาหมึกยักษ์ชนิดนี้กลายเป็นที่รู้จักคุ้นเคยกันดีทั้งจากตำนานกรีกโบราณและจากเรื่อง “ใต้ทะเล 20,000 โยชน์” (20,000 Leagues Under the Sea) ผลงานของ จูลส์ เวิร์น (Jules Verne)
Illustration by John Dawson, copyright National Geographic Society


สำเนาจาก :: ผู้จัดการออนไลน์ :: บทความแปล
อ้างอิงบทความเดียวกันจากต่างประเทศ :: NationalGeographic



แล่เนื้อฉลามวาฬ
Thursday, August 11, 2005, 12:14 PM - ต่างประเทศ

ม่นานมานี้เอง พวกเราได้ไปท่องเที่ยวดำน้ำ บริเวณทางตอนเหนือของเกาะที่สวยงามของ Zanzibar เป็นเวลาถึง 8 วัน ด้วยจำนวนสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลมหาศาลที่ได้พบ ไม่ว่าจะเป็น เต่าทะเล มอเรย์ กระเบนจุด ปลานโปเลียน เป็นต้น

เช้าวันสุดท้ายของเรา (4 กค. 2548) ก่อนที่จะบินกลับประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นวันสบาย ๆ บนชายหาด ที่มีบรรยากาศแห่งความสนุกสนานอยู่รอบด้าน ก็ได้รับโทรศัพท์จากผู้จัดการร้านดำน้ำที่เราไปใช้บริการว่าเกิดเหตุการณ์ที่น่าสลดขึ้น คือกลุ่มชาวประมงที่ออกหาปลาตอนกลางคืน ได้กลับมาในตอนเช้าพร้อมกับฉลามวาฬหนุ่ม พวกเขาใช้เชือกผูกฉลามตัวนี้ แล้วลากติดมากับเรือหาปลา ซึ่งมันยังคงมีชีวิตอยู่ และตกอยู่สภาพอันตรายมาก

นักท่องเที่ยวบางคน ได้ทำการการถ่ายภาพและถ่ายวีด๊โอของชาวประมงกลุ่มนี้ ในเวลาเดียวกันกับที่พวกเขากำลังตัดครีบของฉลามวาฬตัวนี้อยู่ ไม่มีใครสักคนที่จะหยุดยั้งพวกเขา หรืออธิบายให้พวกเขาให้ทราบว่า การกระทำเช่นนี้เป็นสิ่งไม่ถูกต้อง ชาวประมงเหล่านั้นรู้แต่เพียงว่า ครีบของฉลามมีราคาแพงมากเมื่อนำไปขายในตลาดปลา แต่หลังจากนั้นกรมประมงก็ได้รับการร้องเรียนทางโทรศัพท์ให้มาทำการตรวจสอบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ผมก็ไม่ทราบว่าพวกเขาจะมาดูอะไร ได้แต่หวังให้มีการถามหาความรับผิดชอบจากชาวประมงนี้

ด้วยสำนึกของการดำน้ำ ผมรู้สึกไม่ดี ต่อการนำภาพฉลามวาฬที่กำลังถูกแล่เนื้อมาให้ดูนี้ จุดถ่ายภาพ มีระยะห่างไม่เกิน 100 เมตร จากจุดที่พวกเราไปดำน้ำกัน ขณะนี้คือปี 2548 ที่ยังมีการเข่นฆ่าสิ่งมีชีวิตจากทะเล เพื่อต้องการอวัยวะบางส่วน โดยเฉพาะครีบของฉลามอีกหรือ? ทำไมกรมประมงจึงไม่ให้ความรู้ความเข้าใจต่อชาวประมงท้องถิ่น ว่าสิ่งใดพวกเขาสามารถ และไม่สามารถ นำขึ้นมาจากทะเล ทำไมจึงไม่อธิบายถึงผลกระทบต่าง ๆ ต่อไป โดยอาศัยหลักของกฏหมาย



ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การต่อสู้ของผมครั้งต่อไป จะเพื่อฉลาวาฬที่ยังอยู่ใต้น้ำ ไม่ใช่ที่อยู่ด้านบน และรูปภาพเหล่านี้เป็นสิ่งที่ต้องจุดประกายความตื่นตัว และเรียกร้องถึงความช่วยเหลือ เพื่ออนุรักษ์มหาสมุทร และสิ่งมีชีวิตทีอาศัยอยู่ต่อไป


เรื่องโดย :: Greg Puchert - London, England (formerly East London - South Africa)
ภาพโดย :: sharklife.co.za
เรียบเรียงจาก :: http://www.sharklife.co.za :: บทความต้นฉบับ


ยานบังคับใต้น้ำเอื้ออาทร
Friday, August 5, 2005, 09:44 AM - ต่างประเทศ

องพิจารณาดูว่ายานบังคับระยะไกล (Remotely Operated Vehicle: ROV) ที่ใช้กันใต้น้ำ จะมีราคาสูงถึง $8,000 ถึง หลายล้านดอลล่าห์ แต่เจ้าเครื่องที่สร้างเองนี้มีราคาแค่ $100 เท่านั้น ซึ่งเป็นยานใต้น้ำที่ค่อนข้างน่าสนใจทีเดียว

ระยะเวลาในการสร้างก็เพียงแค่ 2 สัปดาห์ โดยสร้างขึ้นจากท่อพีวีซีขนาดใหญ่ ที่ติดตั้งกล้อง ขาวดำ และกล้องสีไว้ พร้อมด้วยระบบไฟส่องอินฟราเรด สำหรับงานถ่ายกลางคืน มีสายไฟที่โยงไปได้ไกลถึง 100 ฟุต สำหรับป้อนพลังงานไฟฟ้า และส่งสำหรับส่งภาพวีดีโอกลับมายังพื้นผิวเพื่อกระบวนการเฝ้าติดตาม และบันทึกแบบ real-time


แปลมาจาก :: engadget.com :: บทความต้นฉบับ


ลำแสงสีแดงมรณะ
Saturday, July 23, 2005, 04:20 PM - ต่างประเทศ


สัตว์ตัวอย่างที่เปล่งแสงได้ (Erenna specimen)
ค้นพบได้จากทะเลลึกนอกชายฝั่งแคลิฟอเนีย
สำหรับปลาแล้ว แสงสีแดงมีความอันตรายมากกว่าที่หลายคนเคยนึกถึง และยิ่งลึกมากเท่าใด ก็ยิ่งอันตรายมากเท่านั้น

สิ่งที่ค้นพบใหม่จากทะเลลึก เป็นความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับแมงกระพรุน คือการปล่อยพลังงานแสงสีแดง ภายใต้ทะเล เพื่อล่อปลาให้มาติดกับดักของมัน


การค้นพบนี้เป็นเรื่องแปลก เพราะว่านักวิทยาศาสตร์ ได้เรียนรู้มาว่าภายใต้ทะเลลึกมาก ๆ สัตว์ต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่ ไม่สามารถมองเห็นแสงสีแดงได้ตั้งแต่พวกมันเกิด เนื่องจากเป็นความลึกระดับที่แสงอาทิตย์ไม่สามารถส่องผ่านลงไปถึง ดังนั้นจึงไม่มีเหตุผลใดที่สัตว์ในความลึกระดับนั้น จำเป็นต้องรับรู้ถึงความแตกต่างของสี

สัตว์ที่มีความบอบบาง ลักษณะขุ่นใส ซึ่งเป็นสัตว์จำพวกไม่มีกระดูกสันหลังสายพันธุ์แรก ที่พบว่าพวกมันสามารถผลิตแสงสีแดงได้

ส่วนสายพันธุ์ใหม่ที่ค้นพบ อยู่ในสกุล Erenna ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นสกุลที่สามารถเปล่งแสงได้ เพื่อการป้องกันตัวจากสัตว์อื่น

รายละเอียดจากการค้นพบ เปิดเผยขึ้นเมื่อ วันที่ 8 กรกฎาคม 2548 ในวารสารวิทยาศาสตร์ ที่เปิดเผยโดย Steven Haddock จากสถาบันวิจัยทางทะเล Monterey Bay Aquarium Research Institute.

แสงสีแดง จะถูกสร้างโดยระบบเปล่งแสงแบบฟลูออเรสเซนต์ ซึ่งเป็นคลื่นแสงความยาวต่ำเช่นเดียวกับสีน้ำเงิน แต่แสงสีน้ำเงินถูกสร้างโดยกระบวนการที่เรียกว่า bioluminescence ซึ่งสิ่งมีชีวิตจะปรับเปลี่ยนสารเคมีให้เป็นแสง คล้ายกับแท่งเรืองแสงที่มีจำหน่ายให้กับเด็ก สัตว์ทะเลมีวิวัฒนาการในการผลิตแสงสีน้ำเงินเนื่องจากมันสามารถเดินทางได้ดีภายใต้มหาสมุทรนั้น

กระบวนการ Bioluminescence นี้ เกือบจะเรียกได้ว่ามีอยู่ในเฉพาะสัตว์ทะเล ยกเว้นสัตว์ชนิดหนึ่งคือหิ่งห้อย

ทีมงานของ Haddock ได้ใช้หุ่นยนต์ดำน้ำในการเก็บตัวอย่างสัตว์ 3 ชนิดจากทะเลปิดนอกชายฝั่งของแคลิฟอเนีย

2 ใน 3 ของสัตว์ตัวอย่างพบว่ามีปลาอยู่ในตัวมัน ซึ่งด้วยความลึกระดับนั้นไม่มีปลาอาศัยอยู่มากนัก Haddock และเพื่อนร่วมงานของเขาชี้ให้เห็นว่าแสงสีแดงดึงดูดปลาได้ และบางทีความสามารถในการมองเห็นแสงในทะเลลึก อาจจะเป็นเรื่องปกติ เกินกว่าที่พวกเราเคยได้รับรู้กันมา

แปลมาจาก :: livescience.com ::บทความต้นฉบับ
เขียนโดย :: Robert Roy Britt, LiveScience Senior Writer
ภาพโดย :: Steve Haddock




ถัดไป