หน้าแรก | กระดานข่าว | บ้านปะการัง | ห้องภาพ | ทำเนียบรุ่น | ห้องสนทนา | งานอนุรักษ์ฯ | ปฏิทิน | FAQ |

ระบบหายใจใต้น้ำแบบปลา
Tuesday, June 14, 2005, 11:05 AM - ต่างประเทศ

นักประดิษฐ์ชาวอิสราเอล ได้ทำการพัฒนาอุปกรณ์ระบบหายใจใต้น้ำโดยไม่ใช้ขวดอัดอากาศ หลักการประดิษฐ์แบบใหม่ชนิดนี้ จะเป็นการนำอ๊อกซิเจนที่มีอยู่ในน้ำมาใช้ หายใจให้กับนักดำน้ำสกูบ้า และภายในเรือดำน้ำ และการประดิษฐ์นี้เองได้รับความสนใจจาก นักประกอบการอุตหกรรมการดำน้ำ และกองทัพเรืออิสราเอล

แนวความคิดการหายใจใต้น้ำ โดยไม่พึ่งพาขวดอากาศเป็นความฝันของ ผู้ประพันธ์นิยายวิทยาศาสตร์มานานหลายปี ในภาพยนตร์ของ จอร์จ ลูคัส เรื่อง “Star War : The Phantom Menace” ก็มีการนำอุปกรณ์ในแนวความคิดดังกล่าวมาใช้ ในตอนที่ โอบีวัน ส่งเครื่องช่วยหายใจใต้น้ำแก่ Jedi ซึ่งนิยายวิทยาศาสตร์วันวานได้กลับมาเป็น วิทยาศาสตร์แห่งความจริงในวันนี้ในโลกของเรา ด้วยนักประดิษฐ์ชาวอิสราเอลคนหนึ่งกับความฝันของเขา


รูปโครงสร้างระบบหายใจใต้น้ำแบบใหม่
มีข้อจำกัดหลายอย่างในวิธีการหายใจใต้น้ำด้วยขวดอากาศ สิ่งแรกคือเวลาทำการใต้น้ำ ซึ่งมีสาเหตุมาจากแรงดันอากาศภายในขวด ข้อจำกัดอีกอันหนึ่งคือความน่าเชื่อถือในอากาศจากบริเวณแหล่งดำน้ำ ที่เติมเข้าสู่ขวด ว่ามีความสะอาดปราศจากมลพิษมากน้อยเพียงใด ซึ่งอาจจะส่งผลอันตรายต่อนักดำน้ำได้ และปัญหาสุดท้ายสำหรับการหายใจใต้น้ำด้วยขวดอากาศคือ เมื่ออากาศถูกใช้ไปจนใกล้หมดขวด ก็จะเปลี่ยนความสมดุลต่อนักดำน้ำที่อยู่ในน้ำด้วย


วิศวกรได้พยายามอย่างมากในการข้ามข้อจำกัดดังกล่าวมาหลายปีแล้ว เช่น เรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ และสถานีอวกาศก็ใช้ระบบผลิตออกซิเจนจากน้ำ โดยกระบวนการ “Electrolysis” คือการแยกออกซิเจนจาก ไฮโดเจน ด้วยวิธีการทางเคมี ระบบเหล่านี้ต้องการพลังงานจำนวนมากในการทำงาน ซึ่งด้วยเหตุผลนี้ เรือดำน้ำเครื่องยนต์ดีเซล ที่มีขนาดเล็กกว่า จึงไม่สามารถใช้ระบบแยกออกซิเจนดังกล่าวได้ นอกจากนี้เรือดำน้ำยังต้องการปรับพื้นที่เพื่อเติมอากาศเพื่อบรรจุลงขวดอากาศบ่อยครั้งขึ้นด้วย นักดำน้ำแน่นอนว่าไม่สามารถจะที่คิดพกพาเครื่องจักรขนาดใหญ่เพื่อนำไปป้อนเป็นพลังงานได้ ดังนั้นการข้ามขีดจำกัดนี้นักประดิษฐ์ชาวอิสราเอล Alon Bodner จึงคิดไปถึงปลาในทะเล

ปลาไม่ต้องใช้กระบวนการทางเคมีในการแยกออกซิเจนออกจากน้ำ แต่พวกมันจะหายใจโดยใช้การซึมซับอ๊อกซิเจนจากในน้ำแทน ในมหาสมุทร คลื่นและกระแสน้ำใต้ทะลได้ช่วยผลิตอากาศเล็กภายในน้ำอยู่แล้ว การศึกษาในเชิงลึกได้แสดงให้เห็นว่าในความลึก 200 เมตรใต้ทะล มีการซึมซับของอากาศอยู่ประมาณ 1.5% ซึ่งอาจจะดูเหมือนไม่มาก แต่มันก็เพียงพอในการหายใจอย่างสบายของทั้งปลาเล็ก และปลา ภายใต้น้ำลึกขนาดนั้น

   
Alon Bodner
ความคิดของ Bodner ถูกสร้างเป็นระบบเลียนแบบปลาที่ใช้อากาศภายในน้ำ ซึ่งจะทำให้ทั้งเรือดำน้ำขนาดเล็ก และนักดำน้ำลึก สามารถที่จะสลัดขวดอากาศที่เกะกะและมีขนาดใหญ่ทิ้งไปได้

ระบบที่พัฒนาโดย Bodner จะใช้หลักฟิสิกส์ที่รู้จักกันดีที่เรียกว่า “Henry Law” ซึ่งอธิบายการแทรกซึมของแก็สเฉื่อยในของเหลว ซึ่งกฎนี้ใช้หลักการของความดัน โดยความดันที่ลดลงก็จะคายแก็สออกจากของเหลว การสร้างออกซิเจนจากนั้น จะทำการปรับเปลี่ยนการทำงานอย่างรวดเร็ว ภายใต้กล่องปิดผนึกขนาดเล็กที่พกพาลงไปใต้ทะเล ระบบนี้จะใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ที่ชาร์ทไฟใหม่ได้ และการคำนวณชี้ให้เห็นว่าแบตเตอรีลิเทียม 1 กิโลกรัมสามารถป้อนพลังงานเพื่อให้นักดำน้ำสามารถดำน้ำได้นานถึง 1 ชั่วโมง


Bodner ได้สร้างระบบทดสอบในห้องแลปเรียบร้อยแล้ว และเขากำลังอยู่ในขั้นตอนการสร้างตัวต้นแบบจริง ลิขสิทธิ์สำหรับการประดิษฐ์นี้ก็ได้รับการอนุมัติจากยุโรป รวมถึงการรอการอนุมัติตรวจสอบในสหรัฐอเมริกาอีกด้วย

โครงการนี้ก็ได้รับการดูแลจากผู้ประกอบการอุตสาหกรรมดำน้ำ และกองทัพเรืออิสราเอล การสนับทางการเงินเบื้องต้นก็ได้รับการดูแลโดย รัฐมนตรีอุตสาหกรรมและพาณิชย์ ของอิสราเอล สำหรับ Bodner ขณะนี้กำลังมองหานักลงทุนเอกชนเพื่อช่วยเขาในการทำให้โครงการนี้เป็นผลสำเร็จให้ได้

ถ้าทุกสิ่งดำเนินไปตามแผนงาน ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า การหายใจใต้น้ำโดยไม่ใช้ขวดอากาศ ก็จะมีให้ได้ใช้งานกัน และจะยึดติดไปกับนักดำน้ำในรูปแบบของชุดดำน้ำ ซึ่งจะทำให้พวกเขาอยู่ใต้น้ำได้นานหลายชั่วโมง

แปลมาจาก :: http://www.isracast.com :: บทความต้นฉบับ

2 comments 2 comments ( 235 views )   |  ปักหลัก

ปริศนาอลังการล้านสีสัน อาณาจักรแนวปะการัง
Friday, May 20, 2005, 10:21 AM - ต่างประเทศ

เรื่อง : เลส คัฟมิน
ภาพ : ทิม เลเมน

นักวิทยาศาสตร์ทราบกันมานานแล้วว่าสีมีส่วนสำคัญในกระบวนการเลือกคู่และการเตือนภัยของสิ่งมีชีวิตใต้ทะเล แต่เมื่อราวทศวรรษ 1990 เราจึงเริ่มเข้าใจมากขึ้นว่า ความยาวคลื่นแสง (รวมถึงสี) จะเปลี่ยนแปลงไปตามระดับความลึกที่ต่างกัน และดวงตาของสัตว์น้ำหลายชนิดสามารถรับแสงที่กล่าวมานี้ได้ ทั้งยังมองเห็นกันและกันในลักษณะที่ต่างจากที่มนุษย์มองเห็นอย่างสิ้นเชิงอีกด้วย


ผมและทิม เลเมน ช่างภาพ พากันดำดิ่งลงไปใต้ท้องทะเลแถบฟิจิและอินโดนีเซีย เพื่อศึกษาว่าสิ่งมีชีวิตในแนวปะการังใช้สีสันในการดำรงชีพอย่างไร เมื่ออยู่ท่ามกลางท้องน้ำมืดมัวนอกเขตแนวแนวปะการัง สัตว์น้ำส่วนใหญ่จะสื่อสารด้วยประสาทสัมผัสอื่นๆ เช่น การรับกลิ่น รสสัมผัสและเสียง โดยไม่ต้องพึ่งพาการมองเห็น แต่เมื่อเข้ามาอยู่ในแนวปะการังซึ่งเป็นบริเวณที่ท้องน้ำใสสะอาดและมีแสงแดดส่องถึง การรับรู้ด้วยสายตาก็กลับมามีบทบาทสำคัญตามเดิม บรรดาสัตว์น้อยใหญ่ไม่ว่าจะมองเห็นหรือไม่เห็น ต่างออกมาอวดโฉมด้วยสีสันเฉิดฉาย บ้างก็เพื่อดึงดูดความสนใจของเพศตรงข้ามและข่มขู่ศัตรูให้กลัวหงอ หรือไม่ก็กำบังตัวจากสัตว์นักล่าและพรางตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม

ทิมและผมเริ่มต้นด้วยการศึกษาระบบนิเวศแนวปะการังซึ่งยังอยู่ในสภาพสมบูรณ์ในท้องทะเลฟิจิ (ดู 'สีสันแดนปะการังแห่งฟิจิ' ฉบับเดือนพฤศจิกายน 2547) ครั้งนั้น ทิมดำน้ำลงไป 25 เมตรและใช้ไฟดวงใหญ่ส่องไปที่ดงปะการังสีแดงสดใส แต่เมื่อปิดไฟเรากลับได้เห็นสีสันที่แตกต่างไปอย่างสิ้นเชิง ซึ่งคงใกล้เคียงกับที่ปลามองเห็น หมู่ปะการังกลายเป็นสีฟ้าอ่อน สีเขียว สีม่วงและสีเหลือง แต่เราไม่เห็นสีแดงเลย เพราะสีนี้มีความยาวคลื่นมากกว่าสีอื่นจึงถูกโมเลกุลของน้ำและตะกอนใต้น้ำดูดซับไปจนหมด ส่วนรงควัตถุสีแดงในตัวสัตว์ทะเลอาจปรากฏเป็นสีเทาหรือดำในน้ำลึก ซึ่งเราก็ยังไม่เข้าใจว่าแล้วมันจะมีสีแดงไว้เพื่ออะไร แต่สิ่งที่เราเข้าใจมากขึ้นในตอนนี้ คือเหตุใดสัตว์ที่อยู่ตามแนวปะการังจึงมักเป็นสีเหลืองและสีฟ้า ทั้งๆที่สีเหล่านี้ทำให้พวกมันตกเป็นเป้าของนักสะสมปลาสวยงาม

จัสติน มาร์แชล และจอร์จ โลซีย์ พร้อมด้วยเพื่อนร่วมงานทำการศึกษาเกี่ยวกับดวงตาของปลาโดยใช้เทคนิคที่เรียกว่า ไมโครสเปกโตรโฟโตเมทรี (microspectrophotometry) ในการวิเคราะห์รงควัตถุรับภาพ (visual pigment) และภาวะไวแสง (photosensitivity) ของดวงตาปลาหลายชนิดที่อาศัยอยู่ตามแนวปะการัง เพื่อศึกษาลักษณะการเห็นภาพและสิ่งที่ปลามองเห็น

นอกจากนี้ทีมงานยังวัดความยาวคลื่นแสงที่สะท้อนจากส่วนต่างๆของปะการังเพื่อคำนวณหา "สีเฉลี่ยของปะการัง" และพบว่าเมื่ออยู่ในแสงธรรมชาติ สีเหลืองและสีฟ้าที่อยู่บนตัวปลาสลิดหิน ปลานกขุนทอง และปลาสินสมุทร จะกลมกลืนไปกับค่าสีเฉลี่ยของปะการังและช่วยให้มันอำพรางตัวจากสัตว์นักล่าได้

นอกจากจะใช้สีเพื่อหลอกล่อเหยื่อแล้ว สัตว์น้ำในแนวปะการังยังใช้สีเพื่อส่ง 'ภาษารัก' แบบสั้นๆ ปลาตามแนวปะการังหลายชนิดสามารถเปลี่ยนสีตัวได้ในชั่วพริบตา เช่น ปลานกขุนทองแฟลชเชอร์เพศผู้ฝูงหนึ่งที่เราเห็นใกล้ชายฝั่งบาหลี สามารถเปลี่ยนแถบสีบนลำตัวและครีบที่เหยียดตรงให้เป็นสีฟ้าสว่างจ้า ทำให้ปลาเพศเมียซึ่งหลงใหลในแสงสีดังกล่าวว่ายปรี่เข้าไปหาคู่ที่หมายตาไว้ พลาพ่นไข่ออกมากลุ่มใหญ่พร้อมๆกับที่ตัวผู้ฉีดน้ำเชื้อออกมาผสม เมื่อภาระกิจเสร็จสิ้นลง เจ้าตัวผู้จะกลับกลายเป็นสีน้ำตาลตามเดิม ส่วนปลามาสาวคู่รักก็รีบว่ายหนีเข้าไปซ่อนในแนวปะการัง ช่วงเวลาของการสำแดงสีสันอันบรรเจิดอาจทำให้พวกมันตกเป็นเป้าสายตาของสัตว์นักล่า ดังนั้น ความสามารถในการเปลี่ยนสีตัวเองให้กลับสู่สภาพเดิมจึงเป็นเรื่องสำคัญเช่นกัน

มนุษย์อาจได้เห็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงสีสันตระการตาเช่นนี้ได้ถ้ามีแสงสว่างเพียงพอ ใต้ผืนน้ำบริเวณใกล้เกาะนูซาเทนการ์รา มีฝูงปลามาชุมนุมเปิบแพลงก็ตอนตัวใสกันอย่างคึกคัก ปลาหลายชนิดที่กินแพลงก์จอนเป็นอาหารสามารถมองเห็นรังสีอัลตราไวโอเลต หรือยูวี ทำให้พวกมันเห็นแพลงก์ตอนในน้ำเป็นสีดำ เพราะแสงยูวีสามารถส่งทะลุผืนน้ำได้ลึกกว่า 100 เมตร ถึงแม้สายตามนุษย์จะมองไม่เห็นรังสีนั้นก็ตาม ยิ่งไปกว่านั้นปลาบางชนิดไม่เพียงมองเห็นแสงยูวีเท่านั้น แต่ยังมีเซลล์สะท้อนแสงยูวีบนลำตัว เพื่อสื่อสารกับพวกพ้องอีกด้วย เช่นปลานิดหินสามารถส่งสัญญาณถึงกันได้เมื่ออยู่ในแสงยูวี โดยที่สัตว์นักว่าอื่นๆมองไม่เห็น การค้นพบดังกล่าวทำให้ผมอดสงสัยไม่ได้ว่า โลกใต้น้ำยังมีความมหัศจรรย์อีกมากมายเพียงใดที่ตาเรามองไม่เห็น

ติดตามอ่านรายละเอียดทั้งหมดได้ใน National Geographic ฉบับภาษาไทย ประจำเดือนพฤษภาคม 2548 :http://www.ngthai.com/feature.asp?id=292


พบฟองน้ำทะเลชนิดใหม่
Thursday, April 28, 2005, 05:52 PM - ประเทศไทย

จากการที่นายสุเมตต์ ปุจฉาการ นักวิทยาศาสตร์ สังกัดฝ่ายวิจัย สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา ได้ทำวิทยานิพนธ์ในระดับปริญญาเอก เรื่อง ความหลากหลายทางชีวภาพฟองน้ำทะเลจากอ่าวไทย โดยได้ทำการเก็บรวบรวมตัวอย่างฟองน้ำทะเลทั่วอ่าวไทยจากระบบนิเวศต่าง ๆ เช่น หาดหิน หาดทราย แหล่งหญ้าทะเล และแนวปะการัง ตั้งแต่ปี 2543 – 2545

รูปจาก www.pantown.com
ผลการศึกษาพบว่ามีฟองน้ำมากกว่า 90 ชนิด และหนึ่งในจำนวนนั้น เป็นฟองน้ำชนิดใหม่ของโลก โดยได้ส่งตัวอย่างฟองน้ำที่พบในครั้งนี้ไปเทียบ และดำเนินการขอตั้งชื่อเรียบร้อยแล้ว โดยใช้ชื่อว่า “ฟองน้ำบูรพา” Cladocroce burapha Putchakarn , Sonchaeng,de Weerdt & van Soest,2004 ซึ่งการตั้งชื่อในครั้งนี้ เพื่อเป็นเกียรติแก่มหาวิทยาลัยบูรพาที่ให้การสนับสนุนการศึกษา การค้นพบครั้งนี้ได้ลงตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารนานาชาติชื่อ “Beaufortia” ปีที่ 59 ฉบับที่ 9 วันที่ 15 ธันวาคม 2547

สำหรับ “ฟองน้ำบูรพา Cladocroce burapha Putchakarn , Sonchaeng,de Weerdt & van Soest,2004” เป็นฟองน้ำทะเลชนิดใหม่ ที่พบได้ ตั้งแต่เขตน้ำขึ้นลง จนถึงนอกชายฝั่งทะเลลักษณะรูปทรง เป็นท่อยกตัวสูง ท่อน้ำออกอยู่ตรงปลายท่อ สีลำตัวเป็นสีขาวอมชมพู พบครั้งแรกเกาะอยู่บนก้อนหิน ที่บริเวณชายหาดบางแสน จังหวัดชลบุรี ที่ระดับน้ำลึกประมาณ 2 เมตร ฟองน้ำชนิดอื่น ๆ ในสกุลนี้ ส่วนมากแล้วเป็นฟองน้ำที่อาศัยอยู่ในทะเลลึก และจัดเป็นฟองน้ำที่หายากชนิดหนึ่งของโลก

สำเนาจาก :: bims.buu.ac.th :: บทความต้นฉบับ


ครูสอนดำน้ำภาษามือ
Tuesday, April 19, 2005, 02:26 PM - ต่างประเทศ



TAVARES - ครูสอนดำน้ำสกูบ้า Chris Zelnio ช่วยนักเรียนดำน้ำ Shawna Grant ตรวจสอบอุปกรณ์ดำน้ำ เพื่อความปลอดภัยตามกฏมาตรฐาน ในชั่วโมงเรียนที่สระน้ำ Golden Triangle YMCA

โดยการไม่พูด หรือ ได้ยิน คำใด ๆ ทั้งครูและนักเรียนต่างมีปัญหาทางการได้ยินทางหู พวกเขาสื่อสารกันด้วย ภาษามือ

"คุณไม่สามารถพูดได้ เมื่อคุณอยู่ใต้น้ำ และเมื่อเราลงน้ำ ต่างก็มีความเท่าเทียมกัน" Randy Olson ครูสอนและครูผู้ช่วยของ Zelnio ให้สัมภาษณ์

ครูสอนดำน้ำ Zelnio วัย 30 มีความผิดปรกติการได้ยินแต่เด็ก ทำให้เขาไม่สามารถพูดได้ด้วย

3 ปี กับประกาศนียบัตรครูดำน้ำ กับการสอน อีก 2 ปีที่ C&N ในเขต Mount Dora โรงเรียนสอนแห่งนี้จ้างเขามาทำงาน เขาเป็นหนึ่งในไม่กี่คนที่เป็นครูสอนดำน้ำแก่ผู้ที่พิการทางการได้ยิน

"มันเป็นเรื่องที่ง่ายมาก เพราะพวกเรามีภาษามือแบบเดียวกัน" เขากล่าว

Zelnio เรียนดำน้ำแบบสกูบ้า เมื่อเขายังเป็นนักศึกษาปี 2 ที่มหาวิทยาลัย California State University ในปี 1994 โดยครูของเขาคือมนุษย์กบจากกองทัพที่เกษียรแล้ว และมีล่ามในการสื่อสารของคนทั้งสอง

พ่อของ Zelnio คือ Robert Zelnio กล่าวว่าลูกชายของเขาชื่นชอบในการว่ายน้ำ และดำน้ำมาก เขายังกล่าวต่อไปอีกว่าลูกชายของเขาไม่เคยกลัวเรื่องน้ำ แต่กลับสนุกกันมันเสมอ จนในที่สุดลูกชายปัจจุบันก็เป็นครูสอนดำน้ำ 1 ใน 7 คน ที่ C&N

Zelnio ยังได้จัดชั้นเรียนพื้นฐานของการดำน้ำแบบสกูบ้า แก่นักเรียนผู้พิการการได้ยินด้วยภาษามืออีกด้วย

รูป :: deafhoosiers.com
เรื่องโดย :: Lori Carter
แปลมาจาก :: underwatertimes.com :: บทความสำเนา




หมึกสาย “พันธุ์อันตราย”
Monday, April 11, 2005, 07:07 PM - ประเทศไทย

ลักษณะ : มีความยาวของลำตัว 1.5-6 เซนติเมตร ลำตัวกลม ผิวหนังขรุขระ ด้านท้ายแหลม มีหนวด 8 เส้นซึ่งมีความยาวประมาณ 10 เซนติเมตร มักจะม้วนปลายอยู่เสมอ สีของลำตัวมักจะเป็นสีเทา หรือสีน้ำตาลอ่อน ไปจนถึงน้ำตาลออกทอง ที่เด่นชัดจนเป็นที่สังเกต คือมีจุดสีน้ำเงินหรือสีฟ้า เป็นรูปวงแหวนหรือเป็นแถบยาวบนหนวด ลำตัวและหัว

แหล่งที่พบเป็นเขตน้ำตื้นชายฝั่ง ตามแนวปะการังหรือกองหินที่เป็นพื้นทราย โดยมักจะหลบซ่อนตัวอยู่ใต้ซอกหิน และจะพรางตัวให้กลมกลืนไปกับสภาพแวดล้อมที่มันพำนักอาศัย ส่วนใหญ่อยู่ในชายฝั่งเขตร้อน ตั้งแต่ประเทศออสเตรเลีย, อินโดนีเซียจนถึงประเทศญี่ปุ่น ในประเทศไทยมีพบเพียง "หมึกสายลายวงแหวนสีฟ้าขนาดเล็ก" เพียงชนิดเดียว

ความเป็นพิษของมันอยู่ที่ต่อมน้ำลาย หลังจากที่กัดเหยื่อ พิษจะวิ่งเข้าทางบาดแผล ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระบบประสาท การหายใจ มีอาการคล้ายเป็นอัมพาตหายใจไม่สะดวก อาจ ขาดออกซิเจนอย่างเฉียบพลัน หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที "จะถึงแก่ความตายได้" ภายในระยะเวลา 2 ชั่วโมง

พิษของเจ้า หมึกสายลายวงแหวนสีฟ้า ประกอบด้วย โปรตีนหลายชนิด เช่น เซฟาโลท็อกซิน และเทโทรโดท็อกซิน ซึ่งเกิดจากกลั่นของต่อมน้ำลายที่ปากของมันและแบคทีเรียในกลุ่ม Bacillus และกลุ่ม Paeudomonas ทั้งยังสามารถถ่ายทอดแบคทีเรียที่สร้างพิษให้กับลูกของมันผ่านทางไข่ได้อีกด้วย

การปฐมพยาบาล...หากถูกกัดให้บีบบริเวณบาดแผล เพื่อเค้นให้พิษและเลือดออก (ห้ามใช้ ปากดูดพิษ) จากนั้นให้ รีบนำส่งแพทย์ภายในเวลา 2 ชั่วโมง

ข้อควรระวัง ไม่ควรบริโภคหมึกสายลายวงแหวนสีฟ้า เพราะกระบวนการประกอบอาหารสามารถทำให้ต่อมพิษแตก และพิษก็ไม่สลายไปกับความร้อนแต่อย่างใด...

ผู้สนใจสัตว์ทะเลที่มีพิษหลากหลายชนิด สามารถไปยลโฉมกันได้ ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลอ่าวไทยฝั่งตะวันออก ตั้งอยู่ที่ ต.เพ อ.เมือง จ.ระยอง
สอบถามเส้นทางที่ 0-3865-3741, 0-3865-3672 ในเวลาราชการ

สำเนาจาก :: http://www.thairath.co.th :: บทความต้นฉบับ



ย้อนกลับ ถัดไป