หน้าแรก | กระดานข่าว | บ้านปะการัง | ห้องภาพ | ทำเนียบรุ่น | ห้องสนทนา | งานอนุรักษ์ฯ | ปฏิทิน | FAQ |

ครูสอนดำน้ำภาษามือ
Tuesday, April 19, 2005, 02:26 PM - ต่างประเทศ



TAVARES - ครูสอนดำน้ำสกูบ้า Chris Zelnio ช่วยนักเรียนดำน้ำ Shawna Grant ตรวจสอบอุปกรณ์ดำน้ำ เพื่อความปลอดภัยตามกฏมาตรฐาน ในชั่วโมงเรียนที่สระน้ำ Golden Triangle YMCA

โดยการไม่พูด หรือ ได้ยิน คำใด ๆ ทั้งครูและนักเรียนต่างมีปัญหาทางการได้ยินทางหู พวกเขาสื่อสารกันด้วย ภาษามือ

"คุณไม่สามารถพูดได้ เมื่อคุณอยู่ใต้น้ำ และเมื่อเราลงน้ำ ต่างก็มีความเท่าเทียมกัน" Randy Olson ครูสอนและครูผู้ช่วยของ Zelnio ให้สัมภาษณ์

ครูสอนดำน้ำ Zelnio วัย 30 มีความผิดปรกติการได้ยินแต่เด็ก ทำให้เขาไม่สามารถพูดได้ด้วย

3 ปี กับประกาศนียบัตรครูดำน้ำ กับการสอน อีก 2 ปีที่ C&N ในเขต Mount Dora โรงเรียนสอนแห่งนี้จ้างเขามาทำงาน เขาเป็นหนึ่งในไม่กี่คนที่เป็นครูสอนดำน้ำแก่ผู้ที่พิการทางการได้ยิน

"มันเป็นเรื่องที่ง่ายมาก เพราะพวกเรามีภาษามือแบบเดียวกัน" เขากล่าว

Zelnio เรียนดำน้ำแบบสกูบ้า เมื่อเขายังเป็นนักศึกษาปี 2 ที่มหาวิทยาลัย California State University ในปี 1994 โดยครูของเขาคือมนุษย์กบจากกองทัพที่เกษียรแล้ว และมีล่ามในการสื่อสารของคนทั้งสอง

พ่อของ Zelnio คือ Robert Zelnio กล่าวว่าลูกชายของเขาชื่นชอบในการว่ายน้ำ และดำน้ำมาก เขายังกล่าวต่อไปอีกว่าลูกชายของเขาไม่เคยกลัวเรื่องน้ำ แต่กลับสนุกกันมันเสมอ จนในที่สุดลูกชายปัจจุบันก็เป็นครูสอนดำน้ำ 1 ใน 7 คน ที่ C&N

Zelnio ยังได้จัดชั้นเรียนพื้นฐานของการดำน้ำแบบสกูบ้า แก่นักเรียนผู้พิการการได้ยินด้วยภาษามืออีกด้วย

รูป :: deafhoosiers.com
เรื่องโดย :: Lori Carter
แปลมาจาก :: underwatertimes.com :: บทความสำเนา




หมึกสาย “พันธุ์อันตราย”
Monday, April 11, 2005, 07:07 PM - ประเทศไทย

ลักษณะ : มีความยาวของลำตัว 1.5-6 เซนติเมตร ลำตัวกลม ผิวหนังขรุขระ ด้านท้ายแหลม มีหนวด 8 เส้นซึ่งมีความยาวประมาณ 10 เซนติเมตร มักจะม้วนปลายอยู่เสมอ สีของลำตัวมักจะเป็นสีเทา หรือสีน้ำตาลอ่อน ไปจนถึงน้ำตาลออกทอง ที่เด่นชัดจนเป็นที่สังเกต คือมีจุดสีน้ำเงินหรือสีฟ้า เป็นรูปวงแหวนหรือเป็นแถบยาวบนหนวด ลำตัวและหัว

แหล่งที่พบเป็นเขตน้ำตื้นชายฝั่ง ตามแนวปะการังหรือกองหินที่เป็นพื้นทราย โดยมักจะหลบซ่อนตัวอยู่ใต้ซอกหิน และจะพรางตัวให้กลมกลืนไปกับสภาพแวดล้อมที่มันพำนักอาศัย ส่วนใหญ่อยู่ในชายฝั่งเขตร้อน ตั้งแต่ประเทศออสเตรเลีย, อินโดนีเซียจนถึงประเทศญี่ปุ่น ในประเทศไทยมีพบเพียง "หมึกสายลายวงแหวนสีฟ้าขนาดเล็ก" เพียงชนิดเดียว

ความเป็นพิษของมันอยู่ที่ต่อมน้ำลาย หลังจากที่กัดเหยื่อ พิษจะวิ่งเข้าทางบาดแผล ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระบบประสาท การหายใจ มีอาการคล้ายเป็นอัมพาตหายใจไม่สะดวก อาจ ขาดออกซิเจนอย่างเฉียบพลัน หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที "จะถึงแก่ความตายได้" ภายในระยะเวลา 2 ชั่วโมง

พิษของเจ้า หมึกสายลายวงแหวนสีฟ้า ประกอบด้วย โปรตีนหลายชนิด เช่น เซฟาโลท็อกซิน และเทโทรโดท็อกซิน ซึ่งเกิดจากกลั่นของต่อมน้ำลายที่ปากของมันและแบคทีเรียในกลุ่ม Bacillus และกลุ่ม Paeudomonas ทั้งยังสามารถถ่ายทอดแบคทีเรียที่สร้างพิษให้กับลูกของมันผ่านทางไข่ได้อีกด้วย

การปฐมพยาบาล...หากถูกกัดให้บีบบริเวณบาดแผล เพื่อเค้นให้พิษและเลือดออก (ห้ามใช้ ปากดูดพิษ) จากนั้นให้ รีบนำส่งแพทย์ภายในเวลา 2 ชั่วโมง

ข้อควรระวัง ไม่ควรบริโภคหมึกสายลายวงแหวนสีฟ้า เพราะกระบวนการประกอบอาหารสามารถทำให้ต่อมพิษแตก และพิษก็ไม่สลายไปกับความร้อนแต่อย่างใด...

ผู้สนใจสัตว์ทะเลที่มีพิษหลากหลายชนิด สามารถไปยลโฉมกันได้ ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลอ่าวไทยฝั่งตะวันออก ตั้งอยู่ที่ ต.เพ อ.เมือง จ.ระยอง
สอบถามเส้นทางที่ 0-3865-3741, 0-3865-3672 ในเวลาราชการ

สำเนาจาก :: http://www.thairath.co.th :: บทความต้นฉบับ


ญี่ปุ่นยังคงเดินหน้าไล่ฆ่าวาฬต่อไป
Thursday, March 31, 2005, 06:04 PM - ต่างประเทศ



เอเอฟพี – ฝูงเรือล่าวาฬของญี่ปุ่นได้เดินทางกลับยังท่าเรือแล้ว หลังจากได้ออกล่าวาฬเป็นเวลานานกว่า 18 ปี ตามแผนการเดิม ที่สร้างความไม่พอใจให้กับนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม กระนั้น รัฐบาลญี่ปุ่นกล่าวว่า ญี่ปุ่นจะยังออกล่าวาฬต่อไป แม้ว่านานาชาติจะคัดค้าน

หลังจากปี 1986 ญี่ปุ่นได้ยกเลิกการล่าวาฬเพื่อการค้า และได้เริ่มการล่าวาฬตามที่ได้อ้างว่าเพื่อการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ในปีถัดมา แต่ปรากฏว่า เนื้อวาฬที่ถูกล่ามานั้น กลับไปปรากฏอยู่ตามชั้นขายสินค้า และร้านอาหารแทน ซึ่งกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้กล่าวว่า การล่าวาฬนั้นของญี่ปุ่นเป็นไปเพื่อการค้า โดยเอาการค้นคว้ามาบังหน้า

ด้านรัฐบาลญี่ปุ่นได้ออกมากล่าวว่า ญี่ปุ่นจะยังคงบริโภคเนื้อวาฬต่อไป เนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมที่ได้รับตกทอดมา แม้ว่านักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจะออกมาต่อต้านก็ตาม เนื่องจากวาฬบางชนิดนั้น อยู่ในภาวะที่ใกล้จะสูญพันธุ์

และในวันนี้(31) ฝูงเรือล่าวาฬของญี่ปุ่นได้เดินทางกลับถึงท่าเรือแล้ว หลังจากได้ออกล่าวาฬที่ทะเลแอนตาร์กติก ตั้งแต่เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา พร้อมกับล่าวาฬมิงค์ได้ 440 ตัว

ทั้งนี้ เพื่อที่จะได้รับการอนุญาตให้ล่าวาฬเพื่อการค้นคว้าครั้งต่อไป รัฐบาลญี่ปุ่นจะยื่นคำร้องไปยังคณะกรรมาธิการการล่าวาฬนานาชาติ(ไอดับเบิลยูซี) ในประเทศเกาหลีใต้ ภายในเดือนมิถุนายนนี้

อย่างไรก็ตาม ญี่ปุ่นได้กล่าวว่า ญี่ปุ่นจะยังคงล่าวาฬต่อไป แม้ว่าไอดับเบิลยูซีจะปฏิเสธแผนที่ได้เสนอไปก็ตาม ซึ่งญี่ปุ่นอ้างว่า วาฬได้ทำให้จำนวนปลาที่จับได้น้อยลง เนื่องจากพวกวาฬได้บริโภคปลาไปเป็นจำนวนมหาศาล

กระนั้น ญี่ปุ่นกลับสนับสนุนการปกป้องวาฬชนิดที่ใกล้จะสูญพันธุ์ แต่ญี่ปุ่นได้แย้งว่าวาฬชนิดอื่นๆ ยังคงมีมากพอที่จะล่า ในจำนวนที่จำกัด

อนึ่ง ญี่ปุ่นและชาติที่สนับสนุนการล่าวาฬต่างรู้สึกไม่พอใจ ที่มีกลุ่มต่อต้านการล่าวาฬเพิ่มมากขึ้น ในการประชุมประจำปีของไอดับเบิลยูซี ซึ่งญี่ปุ่นถึงกับขู่ที่จะถอนตัวออกจากการเป็นสมาชิกของไอดับเบิลยูซี ถ้าหากระบบการตรวจสอบการจับวาฬและโควต้าการจับวาฬขนาดใหญ่ที่เสนอไปไม่ได้รับการอนุมัติ ซึ่งระบบที่ว่านี้จะทำให้การห้ามล่าวาฬต้องสิ้นสุดลงในที่สุด

สำเนาจาก :: www.manager.co.th :: บทความสำเนา ::


สิปาดันได้เวลาฟื้นฟูแล้ว
Friday, March 11, 2005, 04:38 PM - ต่างประเทศ


ใต้ทะเลสิปาดัน


เกาะสิปาดัน
ภาพโดย :: azurcx.ld.infoseek.co.jp


เกาะสิปาดัน
ภาพโดย :: scuba-diving-safaris.co.uk
โคตาคินนาบาลู (มาเลเซีย) : สิปาดันดูเหมือนกำลังเข้าสู่ภาวะฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม หลังจากที่ยืดหยัดตำแหน่งแหล่งดำน้ำอันดับต้น ๆ ของโลก ตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว

หัวหน้าอุทยานซาบา (Sabah Parks) Datuk Lamri Ali กล่าวว่า เกาะกลางทะเลในรัฐซาบา กำลังประสบผลจากสิ่งแวดล้อมทางน้ำ ที่มากับนักท่องเที่ยวที่เดินทางท่องเที่ยวที่รัฐซาบาแห่งนี้จากทั่วโลก

เขายังกล่าวต่อไปอีกว่า ทรายสีขาวบนเกาะ กำลังลดลง จากการถูกซัดลงทะเล รวมถึงน้ำทะเสอันสดใสก็กำลังหายไปด้วย ซึ่งส่งผลให้พันธุ์พืชบนเกาะเติบโตช้าลง นอกจากนี้น้ำเสียที่มาจากการใช้สบู่ของนักท่องเที่ยวก็ส่งผลเสียต่อปะการังไปทั่วบริเวณอีกด้วย

เต่าทะเลที่เคยขึ้นมายังเกาะ บัดนี้ก็เริ่มหาดูได้ยาก และไม่ค่อยปรากฏให้เห็นอีกต่อไปแล้ว รวมถึงนกพันธุ์ต่าง ๆ ก็เริ่มหาดูยากขึ้นอีก

ทางหัวหน้าอุทยานได้กล่าวถึงทางออกของเรื่องนี้ว่า อุทยานซาบา และทางการมาเลเซีย รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เข้ามาดูแลและจัดการ โดยทำการศึกษาและแบ่งแผนงานไว้แล้ว 2 ส่วน คือ หนึ่ง การอนุรักษ์ และ สอง การท่องเที่ยว

นอกจากนี้ยังได้มีการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างบนเกาะออกเพื่อยกเลิกการค้างคืนบนเกาะ ตั้งแต่ มกราคม 48 ที่ผ่านมาอีกด้วย



แปลมาจาก :: http://thestar.com.my :: บทความต้นฉบับ
บทความต้นฉบับเขียนโดย :: muguntan vanar



พบวัดใต้ทะเลที่อินเดียหลังสึนามิ
Tuesday, March 1, 2005, 11:48 AM - ต่างประเทศ


นักดำน้ำชาวอินเดียกำลังตรวจสอบ
หลักฐานทางวัฒนธรรมใต้ทะเล
หลังคลื่นสึนามิซัดผ่านไป
นักโบราณคดีชาวอินเดียได้ค้นพบในสิ่งที่พวกเขาเชื่อกันว่านี่คือ สิ่งก่อสร้างที่ทำจากหิน ที่หลงเหลือในยุคเมืองท่าอันรุ่งโรจน์ทางทะเลฝั่งใต้ของอินเดีย

เจ้าหน้าที่เข้าทำการศึกษาโครงสร้างนี้ หลังจากชาวบ้านได้แจ้งเข้ามาว่า พบวัด และรูปปั้นมากมายในทะล หลังจากที่ระดับน้ำทะเลลดลงไปไกลหลายร้อยเมตร ก่อนที่คลิ่นสึนามิจะซัดเข้าชายฝั่งเมื่อวันที่ 26 ธค. 2547

นอกจากนี้ นักดำน้ำยังพบอีกว่า ซากหินที่ยังหลงเหลืออยู่นั้น มีรูปร่าง ใกล้เคียงกับวัด มหาบาลิพูราม (Mahabalipuram) ที่โด่งดังในอดีต ในรัฐ ทามิล นาดู ของอินเดีย


นาย Alok Tripathi, เจ้าหน้าที่จาก Archeological Survey of India (ASI) ได้กล่าวว่า

"พวกเราได้พบสิ่งก่อสร้างที่ทำจากมือมนุษย์ ซึ่งพวกมันยังคงอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ สามารถนำมาเรียงต่อกันกลับเหมือนเดิมได้"

นอกจากสิ่งก่อสร้างที่พบนี้แล้ว ยังพบหินรูปช้างครึ่งตัว และสิงโต ที่ตั้งอยู่ในวัด มหาบาลิบูราม ด้วย โดยวัตถุที่พบเหล่านี้ถูกคลื่นยักษ์พัดขึ้นมาบนชายหาดพร้อมกับทรายจำนวนมหาศาล

ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า คลื่นสึนามิ ได้มอบของขวัญจาก มหาบาลิพูราม ซึ่งเป็นสิ่งล้ำค่าสมัยที่ฮินดูมีอิทธิพลมากในแถบอินเดียตอนใต้ เมื่อก่อนคริสตศักราช และยาวถึง 8 ศตวรรษ

อนึ่งตามบันทึก มหาบาลิพูราม เป็นหนึ่งในสถาปัตยกรรม และ สิ่งก่อสร้างที่ยอดเยี่ยมที่สุดของอินเดีย..

แปลมาจาก :: http://www.paktribune.com :: บทความต้นฉบับ


ย้อนกลับ ถัดไป